May 2, 2024

อัตลักษณ์ท้องถิ่น

          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ต๋ำนานส้มป่อย” กล่าวถึง “ส้มป่อย” ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่นิยมนำส่วนที่เป็นฝักไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ทำน้ำพระพุทธมนต์ เพราะมีความเชื่อว่าส้มป่อยมีอิทธิฤทธิ์ไล่ภูตผีปีศาจ และเสนียดจัญไรได้ ดังตำนานที่ได้เขียนไว้ว่า “ทรพา” ควายผู้มีอิทธิฤทธิ์...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ต๋ำนานพระธาตุดอยสุเทพ” กล่าวถึงพระสงฆ์ชื่อ “สุมน” ได้ฝันเห็นเจดีย์ครอบองค์พระธาตุหักโค่นลงมา จึงแจ้งให้พระเจ้าลือไทผู้ครองนครสุโขทัยทราบ พระเจ้าลือไทจึงสั่งให้ทหารขุดลงไปและพบองค์พระธาตุในผอบ จึงแจ้งให้พระเจ้าธรรมราชาทราบ แต่ท่านไม่เชื่อถือในองค์ธาตุจึงได้นำไปมอบให้พระเจ้ากือนา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระเจ้ากือนาจึงหาสถานที่นำองค์ธาตุบรรจุ โดยใช้วิธีการนำขึ้นช้างเสี่ยงทาย หากช้างหยุดลงที่ใดก็จะสร้างพระธาตุ...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ต๋ำนานประตู๋เมืองเชียงใหม่” กล่าวถึงประวัติของการสร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีลักษณะการสร้างคล้ายกับสัดส่วนของมนุษย์ กล่าวคือมีหัว มีแขน มีขา มี ๕ ประตู ได้แก่ ๑. ประตูช้างเผือก...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ข้อห้ามของคนโบราณ” กล่าวถึงความเชื่อของชาวล้านนาในสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติประจำวันต่างๆ ดังนี้ – วันอาทิตย์ ไม่ควรลับมีด ตีขวาน – วันจันทร์ ไม่ควรก่อสร้างหรือต่อเติมบ้านเรือน เพราะเชื่อว่าจะสูญเสียญาติพี่น้องในครอบครัว –...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “สูบบุหรี่ดีตั๊ดใด” กล่าวถึงการตั้งข้อสงสัยต่อการสูบบุหรี่ว่าการสูบบุหรี่มีประโยชน์อย่างไรกับผู้สูบ เพราะความจริงแล้วมีแต่ข้อเสีย ทั้งทำให้ฟันและริมฝีปากคล้ำ มีราคาแพง มีสารนิโคตินที่เป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดโรคร้ายแรงอย่าง มะเร็ง ถุงลมโป่งพอง โรคปอด กระเพาะลำไส้ โรคหอบ...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “วันสงกรานต์” กล่าวถึง กิจวัตประจำวันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือปีใหม่เมืองของชาวล้านนา ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นล้านนา ที่เราควรสืบทอดเอาไว้ โดยมีธรรมเนียมปฏิบัติที่แตกต่างกันในแต่ละวันดังนี้ ๑๓ เมษายน “วันสังขารล่อง” ทำความสะอาดบ้านเรือน ทำร่างกายให้สะอาด...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “วันพืชมงคล” กล่าวถึงความสำคัญของวันพืชมงคล เนื่องด้วยในหลวงทรงห่วงใยชาวนา เกษตรกร ที่อดทนทำการเกษตรเพื่อปากท้องของคนไทยมาโดยตลอด โดยลักษณะของพิธีคือการใช้พระโคเสี่ยงทายความอุดมสมบูรณ์ของพืชผลในแต่ละปี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่พระโคเลือกในแต่ละปี วันพืชมงคล หมายถึง วันที่กำหนดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีเก่าแก่มาแต่โบราณที่เสริมสร้างให้เกิดขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ ฟังค่าวล้านนาอื่น...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “วันดี วันเสีย ประจำเดือน” กล่าวถึงความเชื่อของคนโบราณในการดูฤกษ์ยามก่อนจะประกอบพิธีสำคัญ เพราะมีความเชื่อว่าหากประกอบพิธีสำคัญตรงกับวันเสียจะทำให้เดือดร้อน ไม่มีความสุข เสียทรัพย์ได้ – ในเดือนเกี๋ยง เดือนห้า เดือนเก้า วันอาทิตย์กับวันจันทร์...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ลอยกระทง” กล่าวถึงประเพณีลอยกระทง หรือยี่เป็งของภาคเหนือ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อขอขมาพระแม่คงคา ที่ประชาชนใช้น้ำจากแม่น้ำอุปโภคบริโภคกันเป็นจำนวนมาก โดยตามตำนานเล่าว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย พระร่วงมีนางสนมชื่อว่า “นพมาศ” นางเป็นหญิงสาวที่มีฝืมือในการประดิษฐ์ประดอยจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว อยู่มาวันหนึ่งซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองนางได้ใช้ใบตองมาพับวนไปมาจนเป็นต้นกระทง และนำไปถวายแก่พระร่วง ซึ่งพระร่วงทรงพอพระทัยมาก...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “พระคุณของแม่” กล่าวถึงพระคุณของแม่ที่เฝ้าเลี้ยงดูลูกมาด้วยความถนุถนอม ยอมเสียสละเพื่อให้ลูกได้อิ่มท้อง ได้อยู่อย่างสุขสบาย คอยอบรมสั่งสอนเพื่อให้ลูกเป็นคนดี ส่งเสียให้ลูกได้เรียนหนังสือสูงๆ เพื่อลูกจะได้มีวิชาความรู้ มีหน้าที่การงานที่ดี และเป็นที่พึ่งของแม่ในยามชรา เพราะหากลูกรู้จักกตัญญูต่อแม่แล้ว ย่อมจะทำให้ชีวิตมีแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง...