April 19, 2024

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

วัดมหาวนาราม หรือ วัดป่าใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดเก่าแก่ที่มีฐานะเป็นพระอารามหลวงอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปง พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุบลราชธานี อ่านต่อ…
วิหารวัดหลวง อุบลราชธานี ศาสนสถาปัตยกรรมที่สร้างสรรค์จากช่างพื้นเมืองจากเวียงจันทน์ที่อพยพมาสร้างบ้านสร้างเมืองพร้อมเจ้าคำผง และสร้างวัดหลวง วัดแรกของเมืองอุบล ความงดงามที่อยู่ในความทรงจำของคุณตาบำเพ็ญ ณ อุบล นักปราชญ์เมืองอุบลฯ ผู้ที่คลุกคลีและผูกพันกับวัดหลวงมาตลอดชีวิต อ่านต่อ…
การทำนาย ทัศนคติ และความเชื่อของโบราณอีสานเกี่ยวกับการดูลักษณะหรือโฉลกของผู้ชายและผู้หญิง การดูดวงสมพงศ์ของคนที่เลือกจะมาครองคู่กัน บอกเล่าและถ่ายทอดกันมาผ่านวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน ในยุคที่ยังไม่มีความหลากหลายทางเพศหรือรูปแบบของความรัก มีเพียงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายและผู้หญิงนั้น โบราณอีสานเชื่อว่าผู้ชายและผู้หญิงที่เป็นเนื้อคู่กันเกิดจากสายแนนที่พญาแถนได้กำหนดไว้แล้ว หรือเป็นคู่ครองที่อยู่กินกันมานานหลายภพหลายชาติ หรือบุพเพสันนิวาส อ่านต่อ..
จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดในภาคอีสานที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานกว่า 230 ปี แบ่งการปกครองออกเป็น  25 อำเภอ ประวัติการก่อตั้ง ที่มาของชื่อและความหมายของอำเภอต่าง ๆ อ่านต่อ…
หลวงพ่อกับเณรน้อย นิทานพื้นบ้านอีสานที่เล่าสืบต่อกันมาแบบปากต่อปาก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความฉลาดแกมโกงของสามเณรที่ชอบแกล้งและอยากเอาชนะหลวงพ่อที่รู้ไม่เท่าทัน มีหลายตอนหลายสถานการณ์ ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้แต่งหรือใครเล่าเป็นคนแรก เป็นการเล่าเพื่อให้เกิดความสนุกสนานครื้นเครงหรือผ่อนคลายในโอกาสต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในงานบุญ งานสังสรรค์ หรือเป็นนิทานก่อนนอนเล่าให้เด็ก ๆ ฟัง เนื้อเรื่องจึงอาจมีความเหมือนและแตกต่างกันไปตามแต่อารมณ์ของผู้เล่าและผู้ฟัง อ่านต่อ…
ารคิดสร้างสรรค์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่มีในท้องถิ่น การเล่นต่าง ๆ ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง จากพ่อแม่สู่ลูกหลาน การเล่นนอกจากจะทำให้เกิดความเพลิดเพลินแล้ว ยังเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติ ช่วยสร้างความสามัคคีและความสัมพันธ์ในชุมชน ปัจจุบันมีคนให้ความสนใจเรื่องการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยน้อยลงมาก นับวันองค์ความรู้เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านจะค่อย ๆ สูญหายไป เนื่องจากขาดการอนุรักษ์และพัฒนา อ่านต่อ…
การฟ้อนกลองตุ้ม บ้านหนองบ่อ เป็นศิลปะการฟ้อนที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองอุบลราชธานี เดิมจะฟ้อนในบุญบั้งไฟหรืองานบุญเดือนหก เพื่อขอฝนให้ตกตามฤดูกาล ปัจจุบันบ้านหนองบ่อ ยังคงอนุรักษ์รูปแบบการฟ้อนและการแต่งกายไว้ เพื่อใช้ในการแสดงตามโอกาสต่าง ๆ และอนุรักษ์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ อ่านต่อ…
หนังประโมทัย หนังปะโมทัย หนังบักตื้อ หนังบักป่องบักแก้ว แม้จะมีชื่อเรียกที่หลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น แต่นั่นคือ ศิลปะการแสดงของท้องถิ่นอีสานที่ผสมผสานระหว่างหนังตะลุงและหมอลำเข้าด้วยกัน กล่าวคือ มีตัวหนังเชิดเล่นเงาเหมือนหนังตะลุงและนำเสนอเรื่องราวการแสดงแบบหมอลำ ซึ่งศิลปะการแสดงหนังประโมทัยนี้ได้รับอิทธิพลจากการติดต่อทางวัฒนธรรมระหว่างชาวบ้านกับชาวบ้านทั้งจากภาคใต้ที่เป็นต้นกำเนิดของหนังตะลุงในประเทศไทยและภาคกลางที่ได้รับการถ่ายทอดมาอีกที มีการผสมผสานปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมอย่างลงตัวจนเกิดเป็นหนังประโมทัยขึ้นและเป็นที่ยอมรับของคนในท้องถิ่นอีสาน อ่านต่อ…
งานข้อมูลท้องถิ่น สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีโอกาสได้จัดอบรมเทคนิคและวิธีการเล่นดนตรีพื้นเมืองอีสานขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนท้องถิ่นได้ศึกษาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิธีการเล่นดนตรีพื้นเมืองอีสานประเภทต่าง ๆ จากครูบาอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญและความชำนาญในการ สอน การเล่น และการตั้งวงดนตรีพื้นเมืองอีสานในโรงเรียน อีกทั้งเป็นการสนับสนุนและเชิดชูครูภูมิปัญญา ท้องถิ่นในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อสืบสานและสืบทอดศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่อไป โน้ตเพลงที่ใช้ในการอบรมถูกรวบรวมและเรียบเรียงโดยวิทยากร มีตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงการประยุกต์เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถนำไปเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง...
บุญผะเหวด บุญพระเวส หรือบุญมหาชาติ บุญประจำเดือนสี่ตามฮีตสิบสองที่ชาวอีสานยังสืบสานเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีของท้องถิ่น มีระเบียบวิธีปฏิบัติแบบดั้งเดิมแตกต่างไปจากปัจจุบันอย่างไร บุญผะเหวด มีความเกี่ยวข้องกับชาดกเรื่อง พระมหาเวสสันดร ชาดกที่แสดงบารมี 10 ประการของพระชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้าที่ได้ทรงเพียรบำเพ็ญเพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ในภาษาอีสานจะออกเสียง “พระเวส” เป็น “ผะเหวด” จึงเป็นชื่อเรียกบุญนี้ว่า “บุญผะเหวด”...