March 28, 2024

ภาคเหนือ

          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “โลกสมัย” กล่าวถึงความก้าวหน้าของโลกในปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้คนต่างนิยมให้คุณค่าในตัววัตถุมากขึ้น โดยยึดเอาเงินและความสะดวกสบายเป็นที่ตั้ง ผ่อนรถ ผ่อนมือถือ โดยไม่คำนึงถึงรายรับรายจ่ายของตน บางคนก็ต้องกู้เงินเพื่อผ่อนของ จึงอยากให้ทุกคนยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต และรู้จักประมาณตน ฟังค่าวล้านนาอื่น ๆ...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “อิทธิบาท 4″ กล่าวถึงหลักธรรมที่ใช้ในการทำให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำงานเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้ 1. ฉันทะ คือความพอใจ รักใคร่ในสิ่งนั้น 2. วิริยะ...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “อาหารมงคล” กล่าวถึงความเชื่อของคนล้านนในการเลือกรับประทานอาหาร เพื่อความเป็นศิริมงคล เช่น เมนูที่มีวุ้นเส้นเป็นส่วนประกอบให้ทำเลี้ยงในงานมงคลสมรส แต่ไม่ควรทำเลี้ยงในงานศพ เพราะเชื่อว่าจะมีญาติพี่น้องตายตามกันไปอีกไม่รู้จบสิ้น ขนุน เป็นพืชมงคลเพราะขนุนออกเสียงคล้ายกับคำว่า “หนุน” จึงเชื่อว่าทานแล้วจะมีผู้คนหนุนนำ สามารถทำทานได้ตลอด...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ต๋ำนานสลากภัต” กล่าวถึงตำนานของประเพณีตานก๋วยสลากว่า ในสมัยพุทธกาลมียักษ์ตนหนึ่งไล่ฆ่านางกุมารี นางจึงไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อให้พระพุทธเจ้าเทศนาธรรมแก่นางยักษ์ เมื่อนางยักษ์ได้ฟังธรรมะจากพระพุทธเจ้าจึงได้สำนึกในบาปที่ตนกระทำ จึงไปอาศัยอยู่กับนางกุมารี คอยช่วยเหลือโดยการทำนายเกี่ยวกับการตกของฝน การปลูกข้าวในปีนั้นๆว่าจะปลูกนาลุ่มหรือนาดอน จนนางกุมารีร่ำรวย ชาวบ้านจึงถามนางกุมารีถึงสาเหตุของความร่ำรวย นางจึงบอกความจริง ทำให้ชาวบ้านร่ำรวย...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ลาบคนเมืองล้านนา” กล่าวถึงลาบ อาหารพื้นเมืองชนิดหนึ่งของคนเหนือ ลาบเป็นได้ทั้งคำนามที่เป็นชื่ออาหาร และกริยาที่หมายถึงการสับให้ละเอียด ลาบสามารถประยุกต์ทำได้กับเนื้อสัตว์นานาชนิด บ้างก็นิยมนำไปคั่วให้สุก บ้างก็นิยมทานกันดิบๆ (ลาบเลือด) ลาบของชาวเหนือนิยมทำทานในงานเทศกาล งานรื่นเริง หรือเลี้ยงต้อนรับแขก...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “พระของลูก” กล่าวถึงความรักของบิดา มารดาต่อบุตร ที่แม้แต่แผ่นดิน แผ่นฟ้า หรือสวรรค์ไตรภูมิภพไหน ก็ไม่สามารถเทียบได้กับความรักของบิดามารดาที่เฝ้าเลี้ยงดูตั้งแต่เยาว์วัย บางครั้งเราอาจละเลย หลงลืมบุญคุณความรักที่ท่านมีต่อเรา จึงอยากขอให้ทุกคนพึงระลึกเสมอว่าบิดามารดาคือพระในบ้าน อย่าหลงลืมแต่กราบไหว้พระนอกบ้านมากกว่าพระในบ้านของเราเอง เพราะพรจากบิดามารดาถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สุดแล้ว...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “นาฬิกาชีวิต” กล่าวถึงอวัยวะภายในร่างกายของมนุษย์ที่จะมีช่วงเวลาที่ทำงานได้ดีแตกต่างกันไป ดังนี้ 03.00 – 05.00 น. เป็นเวลาปอดทำงานได้ดี จึงควรตื่นแต่เช้าเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ 05.00 – 07.00...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ต๋ำนานวันปี๋ใหม่เมือง” กล่าวถึงเศรษฐีครอบครัวหนึ่ง ด้วยความที่ทั้งสองอยากมีบุตร จึงไปบนบานศาลกล่าวที่ใต้ต้นไทรริมน้ำเป็นประจำ ด้วยความสงสาร เทพารักษ์จึงไปขอร้องพระอินทร์ให้ประทานบุตรให้กับเศรษฐี โดยมีชื่อว่า “ธรรมบาล” และเนื่องจากธรรมบาลเป็นคนเฉลียวฉลาด รู้ภาษาสัตว์ จึงมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วทั้ง ๓...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ค่าวคติสอนใจ๋ จาวนากับเสือ” กล่าวถึงเสือตัวหนึ่งที่อาศัยอยู่ในป่าลึก สัตว์ทุกตัวต่างเกรงขามเสือตัวนี้มาก อยู่มาวันหนึ่งเสือเดินผ่านไปเจอควายกำลังไถนาอยู่โดยมีคนใช้แส้ฟาดทุกครั้งที่ควายเดินช้า เสือเห็นดังนั้นจึงเอ่ยถามควายว่า ตัวควายนั้นก็ใหญ่โต แต่ทำไมจึงยอมให้คนใช้ไถนา ควายจึงตอบว่า เพราะคนมีสติปัญญา ส่วนตนนั้นไม่มีสติปัญญาดีเท่าคน ฝ่ายเสือก็อยากลองสติปัญญาของคนจึงเอ่ยขอดูสติปัญญาของคน...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “แม่” กล่าวถึงการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งปวงชนชาวไทยถือให้เป็นวันแม่แห่งชาติ พระองค์ทรงช่วยเหลือพสกนิกรชาวไทย โดยทรงมีพระราชดำริให้มีศูนย์ศิลปาชีพ เพื่อช่วยเหลือคนไทย นอกจาการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถแล้ว...