May 2, 2024

อัตลักษณ์ท้องถิ่น

          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “นาฬิกาชีวิต” กล่าวถึงอวัยวะภายในร่างกายของมนุษย์ที่จะมีช่วงเวลาที่ทำงานได้ดีแตกต่างกันไป ดังนี้ 03.00 – 05.00 น. เป็นเวลาปอดทำงานได้ดี จึงควรตื่นแต่เช้าเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ 05.00 – 07.00...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ต๋ำนานวันปี๋ใหม่เมือง” กล่าวถึงเศรษฐีครอบครัวหนึ่ง ด้วยความที่ทั้งสองอยากมีบุตร จึงไปบนบานศาลกล่าวที่ใต้ต้นไทรริมน้ำเป็นประจำ ด้วยความสงสาร เทพารักษ์จึงไปขอร้องพระอินทร์ให้ประทานบุตรให้กับเศรษฐี โดยมีชื่อว่า “ธรรมบาล” และเนื่องจากธรรมบาลเป็นคนเฉลียวฉลาด รู้ภาษาสัตว์ จึงมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วทั้ง ๓...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ค่าวคติสอนใจ๋ จาวนากับเสือ” กล่าวถึงเสือตัวหนึ่งที่อาศัยอยู่ในป่าลึก สัตว์ทุกตัวต่างเกรงขามเสือตัวนี้มาก อยู่มาวันหนึ่งเสือเดินผ่านไปเจอควายกำลังไถนาอยู่โดยมีคนใช้แส้ฟาดทุกครั้งที่ควายเดินช้า เสือเห็นดังนั้นจึงเอ่ยถามควายว่า ตัวควายนั้นก็ใหญ่โต แต่ทำไมจึงยอมให้คนใช้ไถนา ควายจึงตอบว่า เพราะคนมีสติปัญญา ส่วนตนนั้นไม่มีสติปัญญาดีเท่าคน ฝ่ายเสือก็อยากลองสติปัญญาของคนจึงเอ่ยขอดูสติปัญญาของคน...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “แม่” กล่าวถึงการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งปวงชนชาวไทยถือให้เป็นวันแม่แห่งชาติ พระองค์ทรงช่วยเหลือพสกนิกรชาวไทย โดยทรงมีพระราชดำริให้มีศูนย์ศิลปาชีพ เพื่อช่วยเหลือคนไทย นอกจาการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถแล้ว...
          บทประพันธ์กะโลงเรื่อง “เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ” กล่าวถึงพระอัจฉริยภาพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพทั้งในด้านภาษา ดนตรี และศาสตร์ด้านอื่นๆ นอกจากนี้ยังทรงสนพระราชหฤทัย ในด้านมรดกวัฒนธรรมของประเทศไทย พสกนิกรชาวไทยต่างแซ่ซ้องสรรเสริญในพระบุญญาบารมีของพระองค์ ฟังค่าวล้านนาอื่น...
          บทประพันธ์กะโลงเรื่อง “เทิดทูนพระปรีชาองค์เจ้าฟ้ามหิดล”กล่าวถึงสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการแพทย์ไทย” ทรงสนับสนุนการศึกษาทางการแพทย์ ทรงจัดให้มีกองทุนเจ้าฟ้ามหิดล เพื่อพระราชทานทุนการศึกษาให้นักเรียนแพทย์ที่เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์ ฟังค่าวล้านนาอื่น ๆ … คลิก
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “องค์ ศีล ห้า” กล่าวถึงข้อห้ามที่ไม่ควรกระทำของศาสนาพุทธ 5 ข้อ (ศีล 5) อันได้แก่ 1. ปาณาติปาตาเวรมณี งดเว้นจาการการฆ่าสัตว์ทุกชนิด...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “สิบสองเป็ง” กล่าวถึงประเพณีสิบสองเป็ง หรือประเพณีอุทิศส่วนบุญหาผู้ตาย ตรงกับวันพระ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ คนเหนือเชื่อว่าในวันนั้นจะมีการปล่อยวิญญาณผู้ล่วงลับ เพื่อกลับมาขอส่วนบุญจากญาติพี่น้องเป็นเวลา ๑ เดือนก่อนจะกลับไปยังภพของตน...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “วันเสียประจำเดือน” กล่าวถึงความเชื่อของคนล้านนาที่ไม่ว่าจะกระทำการมงคลใดๆ จำเป็นจะต้องดูฤกษ์งามยามดีก่อนเสมอเพื่อความป็นศิริมงคล โดยมีวันเสียประจำแต่ละเดือนดังนี้ – เดือนเกี๋ยง หมายถึงเดือนอ้าย หรือเดือนที่ ๑ – เดือนยี่ หมายถึงเดือนที่...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ทำดีกั๋นเต๊อะ” กล่าวถึงคำสอนของศาสนาพุทธที่ให้กระทำความดี ละเว้นความชั่ว เพราะเชื่อว่าเมื่อทำความดีแล้วจะทำให้เราสามารถสั่งสมบุญบารมีได้ และถึงแม้ว่าจะสิ้นอายุขัยบุญบารมีที่ได้ทำก็จะยังคงติดตัวเรา ส่งผลให้ดวงวิญญาณไปสู่สุคติ และเกิดในภพภูมิที่ดี ฟังค่าวล้านนาอื่น ๆ … คลิก