April 23, 2024

เชียงใหม่

          วัดปันสาท (ปันสาด) ปัจจุบันเป็นวัดร้างตั้งอยู่ที่สถานีขนส่งช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สภาพของวัดในปัจจุบันเหลือแต่เจดีย์ร้าง ซึ่งเป็นเจดีย์รูปทรงพิเศษทีไม่ปรากฏแบบแผน เข้าใจว่าคงเป็นเจดีย์ในรุ่นหลังพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา เมื่อศิลปะเชียงใหม่ได้คลี่คลาย รับเอารูปแบบต่าง...
          สะพานจันทร์สมอนุสรณ์หรือขัวแขก ที่เรียกเช่นนี้เพราะชาวเมืองเรียกสะพานว่า ขัว คำว่า แขก มาจากผู้สร้างซึ่งเป็นคหบดีชาวปากีสถานชื่อ โมตีราม หรือมนตรี โกสลาภิรมย์ เจ้าของร้านขายผ้าเชียงใหม่สโตร์ สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับภรรยาชื่อจันทร์สม  ...
          สะพานนวรัฐเป็นสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งที่ 2 ของเมืองเชียงใหม่ เป็นสะพานที่สร้างเชื่อมถนนเจริญเมืองจากสถานีรถไฟกับถนนท่าแพซึ่งเป็นถนนสายเศรษฐกิจหลักในช่วงนั้น ก่อนหน้านี้ชาวบ้านเดินทางไปมาระหว่างสองฝั่งโดยใช้เรือข้ามฟาก หรือใช้ขัวกุลาซึ่งสร้างเชื่อมระหว่างฝั่งวัดเกตการามกับกาดต้นลำไย             สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อการตั้งถิ่นฐานทำมาหากินของผู้คนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงมีมากขึ้น การเดินทางและการขนถ่ายสินค้าระหว่างสองฝั่งแม่น้ำเพิ่มความถี่ในแต่ละวันมากขึ้น ทำให้การเดินทางโดยใช้ขัวกุลาเพียงแห่งเดียวดูจะไม่เพียงพอ จึงได้มีการสร้างสะพานนวรัฐขึ้นมาอีกแห่ง และเมื่อสะพานนวรัฐสร้างเสร็จชาวบ้านเรียกว่าขัวใหม่ เรียกขัวกุลาว่าขัวเก่า...
          ผ่านสามแยกวัดท่าสะต๋อยไปทางทิศใต้ไม่ไกลจะมองเห็นค่ายกาวิละ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทัพทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7 มณฑลทหารบกที่ 33 และฝั่งตรงข้ามค่ายกาวิละเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์พระเจ้ากาวิละ พระเจ้ากาวิละเป็นผู้กอบกู้เมืองเชียงใหม่ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองร้างให้กลับคืนสู่ความเป็นเมืองที่มีชีวิตอีกครั้ง ประวัติและวีรกรรมของพระเจ้ากาวิละได้จารึกไว้ที่ด้านอนุสาวรีย์ของพระองค์ ดังนี้  ...
            เมื่อครั้งที่ยังไม่มีการสร้างทางรถไฟ การเดินทางระหว่างเชียงใหม่กับหัวเมืองตอนล่าง ต้องอาศัยการเดินเรือหรือถ่อแพล่องแม่น้ำปิงเป็นหลัก ตำนานการเดินทางที่ทุกคนรู้จักกันดีก็คือ ตำนานการเดินทางของพระนางจามเทวีจากละโว้ขึ้นมาปกครองเมืองหริภุญไชย การเดินทางระหว่างสองพื้นที่หากเป็นขาลงจากเชียงใหม่-กรุงเทพฯ ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ในขณะที่ขาขึ้นใช้เวลาประมาณ 30-45...
            เผ่าตองเหลือง เป็นชื่อของชนเผ่าหนึ่งที่มีลักษณะเป็นคนป่า มักร่อนเร่อยู่ตามป่าลึก โดยเรียกตามวัสดุที่ใช้มุงหลังคาคือ ใบตอง เมื่อใบไม้ใบตองที่มุงหลังคาหรือทำเป็นซุ้ม เปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้ว คนเหล่านี้ก็จะย้ายไปอยู่ที่อื่นต่อไป              Dr. H....
          ย่านช้างคลานและถนนเจริญประเทศตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ตรงข้ามกับย่านท่าแพและกาดหลวง เข้าใจว่าแต่เดิมคงจะเป็นพื้นที่ติดต่อกัน ดังข้อความที่ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ที่กล่าวว่า บริเวณนี้เป็น …กลางทุ่งหนองช้างคลาน … ซึ่งสอดคล้องกับคำบอกเล่าของผู้คนในแถบนี้ว่า …สมัยก่อนคนเชื้อสายแขกละแวกนี้เลี้ยงวัวกันทุกบ้าน เช้าก็ปล่อยให้กินหญ้าเป็นฝูงใหญ่ทางแถบช้างคลานจนถึงบริเวณสนามบินซึ่งยังเป็นทุ่งนา…             ผู้คนเริ่มทยอยเข้ามาตั้งถิ่นฐานแถบนี้มากขึ้นในยุคของการค้าทางเรือและทางรถไฟ มีหลักฐานว่าก่อนที่ทางรถไฟจะมาถึง...
          มีหลักฐานว่าชุมชนวัดเกตตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ที่นี่อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายสมัยการปกครองของพม่า (หรืออาจจะก่อนหน้านั้น) เนื่องจากมีการกล่าวถึงการใช้ท่าเรือวัดเกตมาตั้งแต่ช่วงเวลาดังกล่าวต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น เมื่อพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ. 2317-2325)เสด็จกลับจากการเดินทางไปเข้าเฝ้ารัชกาลที่ 1 ที่กรุงเทพฯ พระองค์เสด็จมาขึ้นที่ท่าวัดเกต    ...
          คนเชียงใหม่เรียก “แม่น้ำ” ไม่เหมือนทางภาคกลาง โดยเรียกกลับกันว่า “น้ำแม่” อย่าง “แม่น้ำปิง” ที่คนเมืองเรียกว่า “น้ำแม่ปิง” เป็นแม่น้ำสายสำคัญ เป็นแม่น้ำสายหลักของเชียงใหม่ มีต้นน้ำอยู่ที่ภูเขาในตำบลนาหวาย...
          ลัดดาแลนด์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โด่งดังของเชียงใหม่ มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 อาคารที่ก่อสร้างในลัดดาแลนด์เป็นรูปแบบทรงไทย บ้านบางหลังใช้ไม้ตาลทำทั้งหลัง และได้นำสิ่งของที่เป็นศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชาวล้านนา ตลอดจนชนเผ่าต่าง ๆ...