April 19, 2024

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ร้อยตำรวจตรีกาหลง พึ่งทองคำ เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2472 ที่ตำบลท่าม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสังวรพิมลไพบูรณ์ ได้ศึกษาดนตรีไทยตั้งแต่อายุ 9 ปี จากนายวัน สุขทับ ผู้เป็นตาโดยเครื่องดนตรีที่เรียนชิ้นแรกคือ ฆ้องวงใหญ่ จากนั้นได้ศึกษาดนตรีไทยกับครูหลายท่าน เช่น ครูหยด ศรีอยู่ ครูสังเวียน เกิดผล ครูจำลอง...
ครูเฉลิม บัวทั่ง เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2453 ที่บ้านบางศรีราษฎร์ ตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ครูเฉลิมเริ่มเรียนดนตรีกับบิดาตั้งแต่อายุ 6 ปี โดยบิดาจับมือให้ตีระนาดต่อเพลง “มุล่ง” เมื่ออายุประมาณ 10 ปี ได้เรียนดนตรีกับพระยาประสาน ดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ควบคู่ไปกับการเรียนหนังสือที่โรงเรียนพรานหลวงสวนมิสกวัน และเข้ารับราชการเมื่ออายุ 15ปีในกรมปี่พาทย์และโขนหลวงเมื่อคราวที่ครูเฉลิม บัวทั่งอยู่กับพระยาประสาทดุริยศัพท์ เคยตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานไปที่มฤคทายวัน และได้เดี่ยวระนาดถวาย รับสั่งชมเชยว่าตีระนาดได้ดีมาก...
ครูมนตรี ตราโมท เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2443 ที่บ้านท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เดิมชื่อ ” บุญธรรม “ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปีที่ 3 จากโรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ( โรงเรียนปรีดา พิทยาการ ) ความสนใจทางด้านดนตรีไทยของครูเริ่มจากการที่บ้านอยู่ใกล้วัดสุวรรณภูมิ จึงมีวงปี่พาทย์มาฝึกซ้อมอยูุ่เป็นประจำ  เมื่ออายุได้ 17 ปี ได้เข้ารับราชการในกรมพิณพาทย์ทอง กรมมหรสพ กรมมหาดเล็ก ที่กรมพิณพาทย์หลวง และได้เรียนฆ้องวงใหญ่ กับหลวงบำรุงจิตเจริญ...
ครูสาคร ยังเขียวสด เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือนสาม ปีจอ พุทธศักราช 2465 ที่หน้าวัดคลองตาคล้าย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ในขณะที่คณะหุ่นละครของครูแกร ศัพทวนิช กำลังแสดงเรื่องพระอภัยมณี ตอนกำเนิดสุดสาคร นางปลั่ง ภรรยาครูแกรจึงตั้งชื่อให้ว่า “สุดสาคร” แต่เนื่องจากไม่สบายบ่อย ครั้งหนึ่งเคยเจ็บหนักเกือบเอาชีวิตไม่รอด บิดามารดาจึงนำไปยกให้เป็นลูกของหลวงพ่ออินทร์ พระชาวเขมร ที่วัดจางวางดิษฐ์ พระท่านจึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า...
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงเมื่อ พ.ศ. 2489 ชาวญี่ปุ่นจำนวน 3,872 คน ถูกควบคุมตัวให้มาพำนักอยู่ที่ค่ายพิทักษ์บางบัวทอง การดำเนินชีวิตชาวญี่ปุ่นในค่ายพิทักษ์บางบัวทองดำเนินไปด้วยดี เพราะไทยไม่คิดว่าชาวญี่ปุ่นเหล่านี้เป็นเฉลยศึกแต่อย่างใด ทุกคนใช้ชีวิตอยู่อย่างปกติ บางคนมีภรรยาเป็นคนไทย แต่ภรรยาไม่สามารถเข้าไปอยู่ในค่ายได้ ต้องเช่าบ้านหรือห้องแถวอยู่นอกค่าย ภายในค่ายมีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ มีการจัดเวรทำอาหารและทำงานร่วมกัน เด็กได้ศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนภายในค่าย ผู้ใหญ่ได้เข้ารับการศึกษาภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน...
โอ่งสลักลายวิจิตรทรงโหล ตัวโอ่งมีรูปทรงกระบอกกลมคล้ายโหลแก้ว จึงมักเรียกโอ่งทรงนี้ว่า โอ่งทรงโหล เป็นทรงที่ปั้นยาก เนื่องจากส่วนก้นโอ่งมีพื้นที่มากยากต่อการบ่มให้แห้งหรือเผาไม่ให้ก้นร้าว และดูแลยาก โอ่งทรงนี้จึงมีไม่มาก สำหรับโอ่งสลักลายวิจิตรทรงโหลใบนี้มีขนาดใหญ่ ขอบโอ่งสลักเป็นลายรักร้อยแบบมาลัย ส่วนคอโอ่งตั้งสูงคาดด้วยลายพวงมาลัย ส่วนไหล่ของโอ่ง แบ่งออกเป็น 3 ชั้น แต่ละชั้นประดับด้วยลายกลีบบัวขนาดเล็ก ถัดจากกลีบบัวเล็กชั้นที่...
รำมะนา เป็นเครื่องปั้นดินเผาประเภทเครื่องดนตรีที่ช่างปั้นดินเผาเกาะเกร็ดประดิษฐ์ขึ้นเพื่อความสุนทรียภาพทางดนตรี รำมะนาเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ที่ขึ้นรูปทรงคล้ายคนโทน้ำ รำมะนาดินเผาจากบ้านเกาะเกร็ดเป็นเครื่องดนตรีที่ตีแล้วมีเสียงไพเราะ เป็นที่ต้องการของนักดนตรีไทย ทั้งนี้ สามารถดูรำมะนาดินเผา ในรูปแบบ AR ได้โดยวิธีดังนี้ อ่านต่อได้ที่ หนังสือวิจิตรศิลป์ดินเผาเกาะเกร็ด https://library.stou.ac.th/wp-content/flipbook/978-616-16-2855-0/
การประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา ช่างปั้นมีจินตนาการการออกแบบรูปทรงต่างๆ ตามความคิดของช่างปั้น เป็นภูมิปัญญาและทักษะทางศิลปะของช่างปั้น เครื่องปั้นที่มีรูปทรงแปลกๆ ช่างปั้นบ้านเกาะเกร็ดจะจัดให้อยู่ในหมวดของเครื่องปั้นทรงตลก ทั้งนี้ สามารถดูโอ่งน้ำทรงตลก ในรูปแบบ AR ได้โดยวิธีดังนี้ อ่านต่อได้ที่ หนังสือวิจิตรศิลป์ดินเผาเกาะเกร็ด https://library.stou.ac.th/wp-content/flipbook/978-616-16-2855-0/
บาตรพระดินเผา เป็นภาชนะสำหรับใส่อาหารของพระสงฆ์ สามเณร ก่อนที่จะมีการใช้บาตรโลหะ ปัจจุบันบาตรดินเผาใช้สำหรับใส่น้ำมนต์แทนขันน้ำมนต์ ทั้งนี้ สามารถดูบาตรพระดินเผา ในรูปแบบ AR ได้โดยวิธีดังนี้ อ่านต่อได้ที่ หนังสือวิจิตรศิลป์ดินเผาเกาะเกร็ด https://library.stou.ac.th/wp-content/flipbook/978-616-16-2855-0/
ดินเป็นวัสดุสำคัญในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา การผลิตเครื่องปั้นดินเผาของช่างปั้นบ้านมอญเกาะเกร็ด เป็นการผลิตที่ต้องใช้ดินจำนวนมาก การเตรียมดินให้เหมาะแก่การนำมาปั้นเครื่องปั้นจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ประกอบด้วยการใช้ดินจำนวนมาก จึงมีการนำควายมาใช้ในการย่ำดิน เพื่อให้ดินผสมรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน พร้อมที่จะนำไปขึ้นรูปเป็นภาชนะต่างๆ ได้ การย่ำดินด้วยควายจึงช่วยให้ดินมีความเหนียว และรวมตัวเข้ากับทราย ซึ่งเป็นส่วนผสมในดินและน้ำ เหมือนการนวดแป้งให้เหนียว ปัจจุบันมีการใช้เครื่องโม่ดินแทนการใช้ควายย่ำ การใช้ควายย่ำดินจึงเลิกไป ทั้งนี้ สามารถดูแบบจำลองควายย่ำดิน...