April 18, 2024

อัตลักษณ์ท้องถิ่น

วัดมหาวนาราม หรือ วัดป่าใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดเก่าแก่ที่มีฐานะเป็นพระอารามหลวงอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปง พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุบลราชธานี อ่านต่อ…
วิหารวัดหลวง อุบลราชธานี ศาสนสถาปัตยกรรมที่สร้างสรรค์จากช่างพื้นเมืองจากเวียงจันทน์ที่อพยพมาสร้างบ้านสร้างเมืองพร้อมเจ้าคำผง และสร้างวัดหลวง วัดแรกของเมืองอุบล ความงดงามที่อยู่ในความทรงจำของคุณตาบำเพ็ญ ณ อุบล นักปราชญ์เมืองอุบลฯ ผู้ที่คลุกคลีและผูกพันกับวัดหลวงมาตลอดชีวิต อ่านต่อ…
การทำนาย ทัศนคติ และความเชื่อของโบราณอีสานเกี่ยวกับการดูลักษณะหรือโฉลกของผู้ชายและผู้หญิง การดูดวงสมพงศ์ของคนที่เลือกจะมาครองคู่กัน บอกเล่าและถ่ายทอดกันมาผ่านวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน ในยุคที่ยังไม่มีความหลากหลายทางเพศหรือรูปแบบของความรัก มีเพียงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายและผู้หญิงนั้น โบราณอีสานเชื่อว่าผู้ชายและผู้หญิงที่เป็นเนื้อคู่กันเกิดจากสายแนนที่พญาแถนได้กำหนดไว้แล้ว หรือเป็นคู่ครองที่อยู่กินกันมานานหลายภพหลายชาติ หรือบุพเพสันนิวาส อ่านต่อ..
จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดในภาคอีสานที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานกว่า 230 ปี แบ่งการปกครองออกเป็น  25 อำเภอ ประวัติการก่อตั้ง ที่มาของชื่อและความหมายของอำเภอต่าง ๆ อ่านต่อ…
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “โลกสมัย” กล่าวถึงความก้าวหน้าของโลกในปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้คนต่างนิยมให้คุณค่าในตัววัตถุมากขึ้น โดยยึดเอาเงินและความสะดวกสบายเป็นที่ตั้ง ผ่อนรถ ผ่อนมือถือ โดยไม่คำนึงถึงรายรับรายจ่ายของตน บางคนก็ต้องกู้เงินเพื่อผ่อนของ จึงอยากให้ทุกคนยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต และรู้จักประมาณตน ฟังค่าวล้านนาอื่น ๆ...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “อิทธิบาท 4″ กล่าวถึงหลักธรรมที่ใช้ในการทำให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำงานเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้ 1. ฉันทะ คือความพอใจ รักใคร่ในสิ่งนั้น 2. วิริยะ...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “อาหารมงคล” กล่าวถึงความเชื่อของคนล้านนในการเลือกรับประทานอาหาร เพื่อความเป็นศิริมงคล เช่น เมนูที่มีวุ้นเส้นเป็นส่วนประกอบให้ทำเลี้ยงในงานมงคลสมรส แต่ไม่ควรทำเลี้ยงในงานศพ เพราะเชื่อว่าจะมีญาติพี่น้องตายตามกันไปอีกไม่รู้จบสิ้น ขนุน เป็นพืชมงคลเพราะขนุนออกเสียงคล้ายกับคำว่า “หนุน” จึงเชื่อว่าทานแล้วจะมีผู้คนหนุนนำ สามารถทำทานได้ตลอด...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ต๋ำนานสลากภัต” กล่าวถึงตำนานของประเพณีตานก๋วยสลากว่า ในสมัยพุทธกาลมียักษ์ตนหนึ่งไล่ฆ่านางกุมารี นางจึงไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อให้พระพุทธเจ้าเทศนาธรรมแก่นางยักษ์ เมื่อนางยักษ์ได้ฟังธรรมะจากพระพุทธเจ้าจึงได้สำนึกในบาปที่ตนกระทำ จึงไปอาศัยอยู่กับนางกุมารี คอยช่วยเหลือโดยการทำนายเกี่ยวกับการตกของฝน การปลูกข้าวในปีนั้นๆว่าจะปลูกนาลุ่มหรือนาดอน จนนางกุมารีร่ำรวย ชาวบ้านจึงถามนางกุมารีถึงสาเหตุของความร่ำรวย นางจึงบอกความจริง ทำให้ชาวบ้านร่ำรวย...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ลาบคนเมืองล้านนา” กล่าวถึงลาบ อาหารพื้นเมืองชนิดหนึ่งของคนเหนือ ลาบเป็นได้ทั้งคำนามที่เป็นชื่ออาหาร และกริยาที่หมายถึงการสับให้ละเอียด ลาบสามารถประยุกต์ทำได้กับเนื้อสัตว์นานาชนิด บ้างก็นิยมนำไปคั่วให้สุก บ้างก็นิยมทานกันดิบๆ (ลาบเลือด) ลาบของชาวเหนือนิยมทำทานในงานเทศกาล งานรื่นเริง หรือเลี้ยงต้อนรับแขก...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “พระของลูก” กล่าวถึงความรักของบิดา มารดาต่อบุตร ที่แม้แต่แผ่นดิน แผ่นฟ้า หรือสวรรค์ไตรภูมิภพไหน ก็ไม่สามารถเทียบได้กับความรักของบิดามารดาที่เฝ้าเลี้ยงดูตั้งแต่เยาว์วัย บางครั้งเราอาจละเลย หลงลืมบุญคุณความรักที่ท่านมีต่อเรา จึงอยากขอให้ทุกคนพึงระลึกเสมอว่าบิดามารดาคือพระในบ้าน อย่าหลงลืมแต่กราบไหว้พระนอกบ้านมากกว่าพระในบ้านของเราเอง เพราะพรจากบิดามารดาถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สุดแล้ว...