May 17, 2024

อัตลักษณ์ท้องถิ่น

          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ลอยกระทง” กล่าวถึงประเพณีลอยกระทง หรือยี่เป็งของภาคเหนือ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อขอขมาพระแม่คงคา ที่ประชาชนใช้น้ำจากแม่น้ำอุปโภคบริโภคกันเป็นจำนวนมาก โดยตามตำนานเล่าว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย พระร่วงมีนางสนมชื่อว่า “นพมาศ” นางเป็นหญิงสาวที่มีฝืมือในการประดิษฐ์ประดอยจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว อยู่มาวันหนึ่งซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองนางได้ใช้ใบตองมาพับวนไปมาจนเป็นต้นกระทง และนำไปถวายแก่พระร่วง ซึ่งพระร่วงทรงพอพระทัยมาก...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “พระคุณของแม่” กล่าวถึงพระคุณของแม่ที่เฝ้าเลี้ยงดูลูกมาด้วยความถนุถนอม ยอมเสียสละเพื่อให้ลูกได้อิ่มท้อง ได้อยู่อย่างสุขสบาย คอยอบรมสั่งสอนเพื่อให้ลูกเป็นคนดี ส่งเสียให้ลูกได้เรียนหนังสือสูงๆ เพื่อลูกจะได้มีวิชาความรู้ มีหน้าที่การงานที่ดี และเป็นที่พึ่งของแม่ในยามชรา เพราะหากลูกรู้จักกตัญญูต่อแม่แล้ว ย่อมจะทำให้ชีวิตมีแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ” กล่าวถึงการออกกำลังกายโดยการปั่นรถจักรยานซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ผู้สูงอายุนิยม โดยมีการตั้งเป็นชมรมเพื่อนัดหมายกันไปปั่นจักรยาน นอกจากจะได้ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรงแล้ว ยังได้สานสัมพันธ์ในชมรม และได้ชื่นชมธรรมชาติระหว่างทางอีกด้วย ฟังค่าวล้านนาอื่น ๆ … คลิก
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ที่มาของศีลห้า” กล่าวถึงที่มาของ ศีลข้อที่ ๕ “ห้ามดื่มสุราของมึนเมา” โดยมีที่มาตั้งแต่ครั้งเมื่ออดีตกาลได้มีนาง “วิสาขา” นางมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก นางตั้งใจที่จะพบกับพระพุทธเจ้าสักครั้ง เมื่อทราบว่าพระพุทธเจ้าเดินทางมาพำนักที่ใกล้บ้านของนาง นางจึงเตรียมสำรับอาหาร เพื่อจะถวายพระพุทธเจ้า...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ชวนกั๋นกิ๋นผัก” กล่าวถึงความสุขของมนุษย์ 3 อย่าง ได้แก่ การกิน กาม และเกียรติยศ เพราะเพียงแค่มีกิน มีใช้ มีคนเคารพนับถือก็ไม่มีความทุกข์แล้ว ผู้เขียนได้เปรียบเทียบท้องของมนุษย์เหมือนกับป่าช้า...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “งานปอยหลวง” กล่าวถึงงานปอยหลวง ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อฉลองสิ่งก่อสร้างภายในวัดที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลา กำแพง โรงครัว เป็นต้น เมื่อทางวัดแจ้งความประสงค์ที่จะปลูกสร้างสิ่งใดในวัด เจ้าอาวาสก็จะแจ้งแก่ศรัทธา...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “เทิดบุญป๋าระมีจักรีป้อไท้” กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองและพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง พระองค์ทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม ซึ่งถือเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ประชาชนและนานาประเทศ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงห่วงใยประชาชนของพระองค์ โดยเห็นได้จากโครงการในพระราชดำริต่างๆของพระองค์ที่ล้วนทำเพื่อประชาชนของพระองค์ ฟังค่าวล้านนาอื่น ๆ … คลิก
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “อุปมา มือห้านิ้ว” กล่าวถึงการเปรียบการทำงานของมนุษย์กับนิ้วมือทั้ง 5 ซึ่งแต่ละนิ้วต่างมีความสำคัญแตกต่างกันไป หากมนุษย์รู้จักทำงานด้วยความสามัคคี ก็จะประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ เหมือนกับนิ้วมือทั้ง 5 นิ้ว ที่ช่วยกันประคับประคองจนงานสำเร็จ โดยมีการกล่าวถึงนิ้วแต่ละนิ้ว...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “องค์หมอเจ้าฟ้าปวงประชาสยาม” กล่าวถึงสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประชาชนต่างเรียกพระองค์ว่า “หมอเจ้าฟ้า” เนื่องจากพระองค์ทรงให้ความสำคัญในด้านการแพทย์ ทรงศึกษาวิชาการทางการแพทย์ และทรงสนับสนุนการศึกษาทางการแพทย์ เช่น ทุนหมอเจ้าฟ้า...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “นักบุญล้านนาครูบาศรีวิจัย” กล่าวถึงชีวประวัติของครูบาเจ้าศรีวิชัย เดิมมีนามว่า “อินเฟือน” ซึ่งมีความหมายว่าการเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ เนื่องจากใน วันที่เกิดนั้นมีพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ซึ่งมีเชื่อกันว่าคนมีบุญญาธิการจะมาเกิด ผู้คนต่างยกย่องครูบาเจ้าศรีวิชัยว่า “นักบุญแห่งล้านนา” เนื่องจากท่านได้ทำประโยชน์มากมายให้กับชาวล้านนา ซึ่งผลงานที่เป็นที่จดจำของท่านคือการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ...