April 16, 2024

ศิลปิน

ร้อยตำรวจตรีกาหลง พึ่งทองคำ เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2472 ที่ตำบลท่าม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสังวรพิมลไพบูรณ์ ได้ศึกษาดนตรีไทยตั้งแต่อายุ 9 ปี จากนายวัน สุขทับ ผู้เป็นตาโดยเครื่องดนตรีที่เรียนชิ้นแรกคือ ฆ้องวงใหญ่ จากนั้นได้ศึกษาดนตรีไทยกับครูหลายท่าน เช่น ครูหยด ศรีอยู่ ครูสังเวียน เกิดผล ครูจำลอง...
ครูเฉลิม บัวทั่ง เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2453 ที่บ้านบางศรีราษฎร์ ตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ครูเฉลิมเริ่มเรียนดนตรีกับบิดาตั้งแต่อายุ 6 ปี โดยบิดาจับมือให้ตีระนาดต่อเพลง “มุล่ง” เมื่ออายุประมาณ 10 ปี ได้เรียนดนตรีกับพระยาประสาน ดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ควบคู่ไปกับการเรียนหนังสือที่โรงเรียนพรานหลวงสวนมิสกวัน และเข้ารับราชการเมื่ออายุ 15ปีในกรมปี่พาทย์และโขนหลวงเมื่อคราวที่ครูเฉลิม บัวทั่งอยู่กับพระยาประสาทดุริยศัพท์ เคยตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานไปที่มฤคทายวัน และได้เดี่ยวระนาดถวาย รับสั่งชมเชยว่าตีระนาดได้ดีมาก...
ครูมนตรี ตราโมท เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2443 ที่บ้านท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เดิมชื่อ ” บุญธรรม “ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปีที่ 3 จากโรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ( โรงเรียนปรีดา พิทยาการ ) ความสนใจทางด้านดนตรีไทยของครูเริ่มจากการที่บ้านอยู่ใกล้วัดสุวรรณภูมิ จึงมีวงปี่พาทย์มาฝึกซ้อมอยูุ่เป็นประจำ  เมื่ออายุได้ 17 ปี ได้เข้ารับราชการในกรมพิณพาทย์ทอง กรมมหรสพ กรมมหาดเล็ก ที่กรมพิณพาทย์หลวง และได้เรียนฆ้องวงใหญ่ กับหลวงบำรุงจิตเจริญ...
ครูสาคร ยังเขียวสด เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือนสาม ปีจอ พุทธศักราช 2465 ที่หน้าวัดคลองตาคล้าย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ในขณะที่คณะหุ่นละครของครูแกร ศัพทวนิช กำลังแสดงเรื่องพระอภัยมณี ตอนกำเนิดสุดสาคร นางปลั่ง ภรรยาครูแกรจึงตั้งชื่อให้ว่า “สุดสาคร” แต่เนื่องจากไม่สบายบ่อย ครั้งหนึ่งเคยเจ็บหนักเกือบเอาชีวิตไม่รอด บิดามารดาจึงนำไปยกให้เป็นลูกของหลวงพ่ออินทร์ พระชาวเขมร ที่วัดจางวางดิษฐ์ พระท่านจึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า...
(พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี, ว.วชิรเมธี) พระผู้สอนธรรมะ ให้มองปัญหาอย่างเป็นปัจจุบัน พระเมธีวชิโรดม หรือ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือที่เรารู้จักกันในนาม ท่าน ว.วชิรเมธี เกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2516...
“อาจารย์ฉลอง พินิจสุวรรณ” คุณครู ศิลปิน และนักเขียนผู้เป็นที่รัก อาจารย์ฉลอง พินิจสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ณ บ้านเลขที่ 45/1 บ้านแม่ใจปง ตำบลแม่ใจ...
แม่อุ๊ยตุ่นแก้ว แสนเพ็ญ ปราชญ์ด้านเครื่องสักการะล้านนา แม่ตุ่นแก้ว แสนเพ็ญ ได้เริ่มศึกษาเรียนรู้การทำเครื่องสักการะล้านนาด้วยตนเอง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2518 โดยสืบทอดองค์ความรู้จากภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งจะใช้เครื่องสักการะล้านนาในงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ต้นผึ้ง ต้นเทียน ต้นดอก หมากเบ็ง และหมากสุ่ม วัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องสักการะล้านนาส่วนใหญ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ทั่วไปในท้องถิ่น...
แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2559 สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน) พ.ศ. 2497 เด็กหญิงบัวเรียว สุภาวสิทธิ์ ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านการฟ้อนมาจากบิดา คือ นายกุย สุภาวสิทธิ์ ตั้งแต่ อายุประมาณ...
อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2554 สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เกิดวันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2498 ที่หมู่บ้านเล็กๆ ยากจน ที่ไม่มีไฟฟ้า ชื่อหมู่บ้านร่องขุ่น...
อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2544 สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) อาจารย์ถวัลย์มีแวววาดรูปเก่งมาตั้งแต่เด็ก ขณะเรียนชั้นประถมอายุ 8 – 9 ขวบ ก็สามารถวาดตัวละครรามเกียรติ์ได้ทุกตัว หลังจากเรียนจบ มัธยม 6...