May 2, 2024

อัตลักษณ์ท้องถิ่น

          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ตวยหาฝัน” กล่าวถึงชายผู้หนึ่งที่ฝันเฟื่องหลงรักสาวสวยผู้หนึ่ง ที่อาศัยอยู่ที่อำเภอสันป่าตอง หญิงสาวผู้นี้มีรูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ งดงาม พูดจาไพเราะ ชายหนุ่มเห็นจึงเกิดหลงรักจนหัวปักหัวปำ อยากเห็นหน้า อยากได้มาเป็นคู่ครอง แต่ทุกอย่างก็เป็นเพียงแค่ความฝันเท่านั้น...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ครูบาศรีวิชัยมรณภาพไป ๗๖ ปีบารมีไม่เคยเสื่อมคลาย” กล่าวถึงครูบาศรีวิชัย ผู้ที่ยึดในหลักธรรมความเมตตา ที่ถึงแม้ท่านจะมรณภาพไปหลายสิบปีแล้วแต่คุณความดี บารมี ที่ท่านได้สร้างสมตลอดช่วงชีวิตของท่านต่อพุทธศาสนาในภาคเหนือ เช่น การสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ยังคงประจักษ์แก่สายตาคนรุ่นหลังสืบต่อไป ฟังค่าวล้านนาอื่น...
          บทประพันธ์กะโลงเรื่อง “กะโลงปู่จาครู” กล่าวถึงการบูชาครูบาอาจารย์ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ การไหว้บูชาครูนิยมใช้ หญ้าแพรก สัญญาลักษณ์ของความอดทน ความเจริญงอกงาม ดอกเข็ม สัญญาลักษณ์ของสติปัญญาที่เฉียบคม เป็นต้น ฟังค่าวล้านนาอื่น ๆ …...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “อยู่อย่างสุขใจ๋ในวัยสูงอายุ” กล่าวถึงการแนะนำการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ว่าด้วยการปฏิบัติตัวในวัยสูงอายุอย่างมีความสุข โดยมีข้อปฏิบัติดังนี้ ๑ . ทำตนเป็นที่เคารพนับถือ ๒ . ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ๓ ....
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “สุภาษิตล้านนา ผะหญาคนเมือง” กล่าวถึงการเตือนสติแก่คนรุ่นหลังผ่านสุภาษิตของล้านนา เช่น การพูดจา การใช้ชีวิต เป็นต้น ฟังค่าวล้านนาอื่น ๆ … คลิก
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “รออ้ายจายเดียว” กล่าวถึงเรื่องราวการรำพึงรำพันของผู้หญิงผู้หนึ่งที่ยึดมั่น ซื่อสัตย์ ต่อชายผู้เป็นสามี ยังคงเฝ้ารอคอยการกลับมาของสามีผู้เป็นที่รัก แม้ว่าจะเลิกรากันไปแล้ว ฟังค่าวล้านนาอื่น ๆ … คลิก
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “พระคุณแม่” กล่าวถึงความเจ็บปวด ทรมาน ของผู้เป็นแม่ยามคลอดลูก ซึ่งเป็นความเจ็บปวดที่ไม่มีอะไรเทียมเทียบได้ อีกทั้งอยากให้ลูกหวนนึกถึงพระคุณของผู้เป็นแม่แม่ในวันที่ลูกเติบใหญ่ เจริญก้าวหน้า เป็นเจ้าคนนายคน กลับมาดูแลแม่ให้ได้อยู่สุขสบายเหมือนวันที่ท่านดูแลเรายามเล็ก ฟังค่าวล้านนาอื่น ๆ …...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ป๋าเวณี๋ปี๋ใหม่เมือง” กล่าวถึงกิจวัตในช่วงประเพณีสงกรานต์ของชาวล้านนา ดังนี้ • ในค่ำวันที่ 12 ชาวบ้านจะจุดพลุ (สะโป้ก) ยิงปืนขึ้นไปบนฟ้า เนื่องจากเชื่อว่าการกระทำการเสียงดังจะช่วยขับไล่ โรคภัย สิ่งชั่วร้าย...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ต๋ำนานเสาอินทขิล” กล่าวถึงตำนานของเสาอินทขิล ที่ตั้งอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ. เมือง จ.เชียงใหม่ โดยเล่าว่าก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ บริเวณที่ตั้งเมืองเชียงใหม่เป็นที่อยู่ของชาวลัวะ ชาวบ้านในเมืองอดหลับอดนอน ไม่เป็นอันทำมาหากินเนื่องจากมีภูติผีออกมาหลอกหลอน เมื่อพระอินทร์ทราบก็ช่วยบันดาลบ่อเงิน บ่อทอง...
          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ต๋ำนานเจดีย์ขาว” กล่าวถึงประวัติการสร้างเจดีย์ขาว โดยเล่าย้อนไปในอดีตสมัยที่เชียงใหม่กับพม่ามีการสู้รบกัน ทางฝ่ายพม่าท้าเจ้าเมืองเชียงใหม่โดยมีบ้านเมืองเป็นเดิมพัน โดยการแข่งขันดำน้ำให้ได้นานที่สุดหากใครแพ้ต้องยกเมืองให้อีกฝ่ายหนึ่ง ทางฝ่ายเชียงใหม่ได้ “ปู่เปียง” เป็นผู้อาสาเข้าแข่งขัน ในวันแข่งขัน ทั้ง 2 ฝ่ายลงไปดำน้ำโดยมีหลักเสาอยู่คนละหลัก...