May 16, 2024

          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ต๋ำนานเสาอินทขิล” กล่าวถึงตำนานของเสาอินทขิล ที่ตั้งอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ. เมือง จ.เชียงใหม่ โดยเล่าว่าก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ บริเวณที่ตั้งเมืองเชียงใหม่เป็นที่อยู่ของชาวลัวะ ชาวบ้านในเมืองอดหลับอดนอน ไม่เป็นอันทำมาหากินเนื่องจากมีภูติผีออกมาหลอกหลอน เมื่อพระอินทร์ทราบก็ช่วยบันดาลบ่อเงิน บ่อทอง และบ่อแก้วไว้ในเมือง แต่มีข้อแม้คือชาวบ้านต้องถือศีลรักษาคำสัตย์ หากปฏิบัติตามแล้วอธิษฐานสิ่งใดก็จะได้ดังสมปรารถนา จนกระทั้งเมืองต่างๆทราบเรื่องจึงพากันยกทัมาแย่งชิง เมื่อพระอินทร์ทราบเรื่องจึงให้กุมภัณฑ์ (ยักษ์) ขุดอินทขีล (เสาตะปูพระอินทร์) หาบไปฝังกลางเมือง อำนาจของเสาอินทขีลดลบันดาลให้ข้าศึกที่ยกทัพกลายร่างเป็นชาวบ้านธรรมดา แต่เนื่องด้วยชาวบ้านเหล่านี้ไม่สามารถถือศีลรักษาคำสัตย์ได้ ทำให้กุมภัณฑ์โกรธ จึงนำเสาอินทขีลและบ่อทั้ง 3 กลับสวรรค์ เวลาล่วงเลยผ่านไป 3 ปี มีพระรูปหนึ่งทำนายว่า“ต่อไปบ้านเมืองจะถึงกาลวิบัติ” ชาวบ้านต่างกลัวจึงร่วมกันหล่ออ่างขาง (กระทะขนาดใหญ่) แล้วใส่รูปปั้นต่างๆ อย่างละ 1 คู่ ฝังในหลุม แล้วทำเสาอินทขิลไว้เบื้องบนเพื่อทำพิธีบูชา เพื่อให้บ้านเมืองพ้นภัยพิบัติ จึงกลายเป็นประเพณีบูชาเสาอินทขิลสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

Rate this post

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *