May 16, 2024

          บทประพันธ์ค่าวเรื่อง “ต๋ำนานประตู๋เมืองเชียงใหม่” กล่าวถึงประวัติของการสร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีลักษณะการสร้างคล้ายกับสัดส่วนของมนุษย์ กล่าวคือมีหัว มีแขน มีขา มี ๕ ประตู ได้แก่ ๑. ประตูช้างเผือก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือเป็นจุดรวมไพร่พลเพื่อเตรียมสู้รบยามเกิดศึกสงคราม ๒. ประตูท่าแพ ด้านซ้าย เปรียบเสมือนประตูแขน ขา เป็นประตูทางผ่านของเจ้าในสมัยนั้น และเป็นจุดค้าขายแลกเปลี่ยนข้าวของ ๓. ประตูสวนดอก ด้านขวา ที่ได้ชื่อว่าสวนดอกนั้นก็เพราะชายาของพระยากือนาชื่นชอบในการทำสวนดอกไม้ จึงมีสวนดอกไม้บริเวณนั้นมากมาย ๔. ประตูเชียงใหม่ อยู่ทิศใต้ เป็นประตูมงคลของบ้านเมือง ๕. ประตูสวนปรุง เป็นประตูที่ใช้เป็นทางผ่านของศพ สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (๒๕๕๒) ให้ความหมาย “แจ่ง” ภาษาล้านนาหมายถึง มุม “แจ่งเวียง” คือป้อมปราการที่ตั้งบนกำแพงเมือง “แจ่งเวียงเชียงใหม่” คือมุมทั้ง ๔ ของเมืองเชียงใหม่ อันได้แก่ ๕.๑ แจ่งศรีภูมิ หรือไชยสรีภูมิ เป็นแจ่งแรกที่เริ่มสร้างตั้งอยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ถือเป็นตำแหน่งศรีของเมือง ซึ่งชื่อนี้มีความหมายว่าเป็นชัยชนะ ๕.๒ แจ่งกะต๊ำ หรือขะท้ำ ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยชื่อหมายถึงเครื่องมือดักจับสัตว์น้ำ เนื่องจากแจ่งนี้เป็นบริเวณที่มีระดับต่ำ น้ำจากคูทุกด้านจะไหลรวมสู่คูเมืองด้านนี้ ทำให้มีปลาอุดมสมบูรณ์ ๕.๓ แจ่งกู่เฮือง ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่ได้ชื่อนี้เป็นเพราะเป็นที่ตั้งของกู่กระดูกของหมื่นเรือง ซึ่งในสมัยก่อนผู้มีเชื้อสายท้าวพระญาจะไม่ตั้งบ้านเรือนบริเวณนี้เพราะเป็นกาลกิณีเมือง ๕.๔ แจ่งหัวลิน ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นพื้นที่สูงที่สุดในเมืองเชียงใหม่

Rate this post

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *