May 6, 2024

ภาคกลาง

ร้อยตำรวจตรีกาหลง พึ่งทองคำ เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2472 ที่ตำบลท่าม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสังวรพิมลไพบูรณ์ ได้ศึกษาดนตรีไทยตั้งแต่อายุ 9 ปี จากนายวัน สุขทับ ผู้เป็นตาโดยเครื่องดนตรีที่เรียนชิ้นแรกคือ ฆ้องวงใหญ่ จากนั้นได้ศึกษาดนตรีไทยกับครูหลายท่าน เช่น ครูหยด ศรีอยู่ ครูสังเวียน เกิดผล ครูจำลอง...
ครูเฉลิม บัวทั่ง เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2453 ที่บ้านบางศรีราษฎร์ ตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ครูเฉลิมเริ่มเรียนดนตรีกับบิดาตั้งแต่อายุ 6 ปี โดยบิดาจับมือให้ตีระนาดต่อเพลง “มุล่ง” เมื่ออายุประมาณ 10 ปี ได้เรียนดนตรีกับพระยาประสาน ดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ควบคู่ไปกับการเรียนหนังสือที่โรงเรียนพรานหลวงสวนมิสกวัน และเข้ารับราชการเมื่ออายุ 15ปีในกรมปี่พาทย์และโขนหลวงเมื่อคราวที่ครูเฉลิม บัวทั่งอยู่กับพระยาประสาทดุริยศัพท์ เคยตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานไปที่มฤคทายวัน และได้เดี่ยวระนาดถวาย รับสั่งชมเชยว่าตีระนาดได้ดีมาก...
ครูมนตรี ตราโมท เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2443 ที่บ้านท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เดิมชื่อ ” บุญธรรม “ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปีที่ 3 จากโรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ( โรงเรียนปรีดา พิทยาการ ) ความสนใจทางด้านดนตรีไทยของครูเริ่มจากการที่บ้านอยู่ใกล้วัดสุวรรณภูมิ จึงมีวงปี่พาทย์มาฝึกซ้อมอยูุ่เป็นประจำ  เมื่ออายุได้ 17 ปี ได้เข้ารับราชการในกรมพิณพาทย์ทอง กรมมหรสพ กรมมหาดเล็ก ที่กรมพิณพาทย์หลวง และได้เรียนฆ้องวงใหญ่ กับหลวงบำรุงจิตเจริญ...
ครูสาคร ยังเขียวสด เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือนสาม ปีจอ พุทธศักราช 2465 ที่หน้าวัดคลองตาคล้าย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ในขณะที่คณะหุ่นละครของครูแกร ศัพทวนิช กำลังแสดงเรื่องพระอภัยมณี ตอนกำเนิดสุดสาคร นางปลั่ง ภรรยาครูแกรจึงตั้งชื่อให้ว่า “สุดสาคร” แต่เนื่องจากไม่สบายบ่อย ครั้งหนึ่งเคยเจ็บหนักเกือบเอาชีวิตไม่รอด บิดามารดาจึงนำไปยกให้เป็นลูกของหลวงพ่ออินทร์ พระชาวเขมร ที่วัดจางวางดิษฐ์ พระท่านจึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า...
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงเมื่อ พ.ศ. 2489 ชาวญี่ปุ่นจำนวน 3,872 คน ถูกควบคุมตัวให้มาพำนักอยู่ที่ค่ายพิทักษ์บางบัวทอง การดำเนินชีวิตชาวญี่ปุ่นในค่ายพิทักษ์บางบัวทองดำเนินไปด้วยดี เพราะไทยไม่คิดว่าชาวญี่ปุ่นเหล่านี้เป็นเฉลยศึกแต่อย่างใด ทุกคนใช้ชีวิตอยู่อย่างปกติ บางคนมีภรรยาเป็นคนไทย แต่ภรรยาไม่สามารถเข้าไปอยู่ในค่ายได้ ต้องเช่าบ้านหรือห้องแถวอยู่นอกค่าย ภายในค่ายมีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ มีการจัดเวรทำอาหารและทำงานร่วมกัน เด็กได้ศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนภายในค่าย ผู้ใหญ่ได้เข้ารับการศึกษาภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน...
…ท้องถิ่นคนขยัน กล่าวขวัญวัวลาน ตำนานหลวงพ่อผ้าทอหนองขาว สะเดาลือชื่อ ข้าวหอมซ้อมมือ เลื่องลือน้ำตาลสด… บ้านหนองขาวเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ ณ ต. หนองขาว อ. ท่าม่วง จ. กาญจนบุรี คำขวัญท้องถิ่นของชุมชนแห่งนี้ บอกเล่าถึงอัตลักษณ์แห่งชุมชนอย่างชัดเจน สะท้อนภาพความเป็น...
ศาลหลักเมืองนครปฐมอยู่ที่ไหน? เป็นคำถามที่หลายคนอาจสงสัย หลายคนอาจเคยถูกผู้สนใจใกล้ชิดไถ่ถาม ผู้เขียนเองเป็นชาวนครปฐมแต่กำเนิดและเคยสงสัยเช่นกันว่าศาลหลักเมืองนครปฐมมีไหม และหากมีศาลนั้นตั้งอยู่ที่ใด คำถามเรื่องนี้ยังคงเป็นปริศนาค้างคาอยู่ในใจมาช้านาน เมื่อเริ่มค้นหาข้อมูลศาลหลักเมืองนครปฐมทำให้พบคลิปวิดีโอชิ้นหนึ่ง จากการรับชมคลิปวิดีโอนี้ผู้เขียนรู้สึกมีปริศนาใหม่เกิดขึ้น จึงตามหาสถานที่ที่กล่าวถึงในคลิปวิดีโอ และพบอยู่บริเวณ ต.ท่าตำหนัก อ.นครชัยศรี โดยพบว่าบริเวณด้านหน้าวัดท่าตำหนักมีป้าย “ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง” การเดินทางสำรวจพื้นที่เบื้องต้นของผู้เขียนได้พบข้อมูลอะไรบ้าง…อ่านต่อคลิก
ศาลเจ้าม้าดำ หรือ ศาลเจ้าซำซัวก๊กอ๊วง หรือ ซำอ้วงเอี้ย วัดกลางนี้ จากข้อมูลแนะนำศาลเจ้า กล่าวว่า ศาลเจ้าแห่งนี้เดิมเป็นศาลไม้เล็กๆ หลังคามุงจาก และจากการสอบถามชาวบ้านซึ่งมีบ้านเรือนตั้งอาศัยอยู่ในพื้นที่ของศาลเจ้า คือ คุณหมวย อายุ 60 ปีเศษ เล่าว่า...
“ตลาด” ภายหลังจากเมืองนครปฐมโบราณ ถูกทิ้งร้างไปแต่ครั้งสมัยทวารวดี เมื่อกลับฟื้นคืนความเป็นเมืองอีกครั้ง ด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์พระมหาเจดีย์ ทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอยู่อาศัย “ตลาดปสาน” หรือ bazzaar ในภาษาเปอร์เซีย ที่เริ่มจากสองฝากฝั่งคลองเจดีย์บูชา และขยับขยายขึ้นบกในเวลาต่อมา มีพัฒนาการเป็นมาอันน่าสนใจอย่างไร…อ่านต่อคลิก
วังปฐมนคร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ในแขวงเมืองนครไชยศรี หรือ นครปฐมในปัจจุบัน วังแห่งนี้มีคำเรียกในเอกสารแตกต่างกัน อาทิ วังพระนครปฐม พระราชวังนครปฐม วังพระปถมเจดีย์ นับเป็นหนึ่งในพระราชวังสำหรับประทับแรมตามหัวเมือง ณ ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ใช้เป็นที่ประทับในสมัยรัชกาลรัชกาลที่ ๔...