April 29, 2024

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงเมื่อ พ.ศ. 2489 ชาวญี่ปุ่นจำนวน 3,872 คน ถูกควบคุมตัวให้มาพำนักอยู่ที่ค่ายพิทักษ์บางบัวทอง

การดำเนินชีวิตชาวญี่ปุ่นในค่ายพิทักษ์บางบัวทองดำเนินไปด้วยดี เพราะไทยไม่คิดว่าชาวญี่ปุ่นเหล่านี้เป็นเฉลยศึกแต่อย่างใด ทุกคนใช้ชีวิตอยู่อย่างปกติ บางคนมีภรรยาเป็นคนไทย แต่ภรรยาไม่สามารถเข้าไปอยู่ในค่ายได้ ต้องเช่าบ้านหรือห้องแถวอยู่นอกค่าย ภายในค่ายมีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ มีการจัดเวรทำอาหารและทำงานร่วมกัน

เด็กได้ศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนภายในค่าย ผู้ใหญ่ได้เข้ารับการศึกษาภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษารัสเซีย เวลาว่างมีกิจกรรมสันทนาการและการเล่นกีฬา เช่น เบสบอลและวอลเล่ย์บอล และเมื่อถึงเทศกาลตามประเพณีของชาวญี่ปุ่น ก็สามารถจัดงานตามประเพณีของชาวญี่ปุ่นได้ เช่น เทศกาลปลาของญี่ปุ่น ทุกคนที่อยู่ภายในค่ายมีอิสระในการทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่ห้ามออกไปนอกค่าย นอกจากจะได้รับอนุญาตให้ไปซื้อของที่ตลาดบางบัวทอง โดยผลัดกันไปเป็นกลุ่ม ๆ

ชาวญี่ปุ่นที่อยู่ภายในค่ายแต่ละคนมีเงินติดตัวกันมามาก ดังที่ นายไพโรจน์   พันธุมจินดา ได้กล่าวถึงไว้ในบทความเรื่องมาสแต็งตกที่บางบัวทอง จากหนังสือเอาเส้นใหญ่รวมมิตรมาจาน ตอนหนึ่งว่า

” … พวกเฉลยญี่ปุ่นได้รับอนุญาตมาเที่ยวตลาดได้ทุกวันโดยผลัดกันมาเป็นกลุ่ม ๆ การเงินเดินสะพัดหมุนจี้ ร้านรวง พ่อค้าแม่ค้าขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เพราะพวกญี่ปุ่นขนเงินติดตัวมาคนละมาก ๆ บางคนยัดธนบัตรใส่ที่นอน หมอนหนุนหัวแทนนุ่นแน่นเอี้ยด ญี่ปุ่นหนุ่มฐานะชั้นกระจอกคนหนึ่งชื่อซาบูเอะรู้จักกับที่บ้านและเอาเงินมาฝากไว้หกหมื่นบาทก่อนกลับกรุงเทพฯ และส่งตัวกลับญี่ปุ่นเขามาขอรับเงินคืนไปเป็นที่เรียบร้อย “

ในรูปภาพ คือ โรงเรียนอนุบาลภายในค่ายญี่ปุ่นที่อาสาสมัครจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2488

Loading

Rate this post

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *