March 29, 2024

ข้อมูลท้องถิ่นนนทบุรี

ร้อยตำรวจตรีกาหลง พึ่งทองคำ เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2472 ที่ตำบลท่าม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสังวรพิมลไพบูรณ์ ได้ศึกษาดนตรีไทยตั้งแต่อายุ 9 ปี จากนายวัน สุขทับ ผู้เป็นตาโดยเครื่องดนตรีที่เรียนชิ้นแรกคือ ฆ้องวงใหญ่ จากนั้นได้ศึกษาดนตรีไทยกับครูหลายท่าน เช่น ครูหยด ศรีอยู่ ครูสังเวียน เกิดผล ครูจำลอง...
ครูเฉลิม บัวทั่ง เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2453 ที่บ้านบางศรีราษฎร์ ตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ครูเฉลิมเริ่มเรียนดนตรีกับบิดาตั้งแต่อายุ 6 ปี โดยบิดาจับมือให้ตีระนาดต่อเพลง “มุล่ง” เมื่ออายุประมาณ 10 ปี ได้เรียนดนตรีกับพระยาประสาน ดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ควบคู่ไปกับการเรียนหนังสือที่โรงเรียนพรานหลวงสวนมิสกวัน และเข้ารับราชการเมื่ออายุ 15ปีในกรมปี่พาทย์และโขนหลวงเมื่อคราวที่ครูเฉลิม บัวทั่งอยู่กับพระยาประสาทดุริยศัพท์ เคยตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานไปที่มฤคทายวัน และได้เดี่ยวระนาดถวาย รับสั่งชมเชยว่าตีระนาดได้ดีมาก...
ครูมนตรี ตราโมท เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2443 ที่บ้านท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เดิมชื่อ ” บุญธรรม “ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปีที่ 3 จากโรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ( โรงเรียนปรีดา พิทยาการ ) ความสนใจทางด้านดนตรีไทยของครูเริ่มจากการที่บ้านอยู่ใกล้วัดสุวรรณภูมิ จึงมีวงปี่พาทย์มาฝึกซ้อมอยูุ่เป็นประจำ  เมื่ออายุได้ 17 ปี ได้เข้ารับราชการในกรมพิณพาทย์ทอง กรมมหรสพ กรมมหาดเล็ก ที่กรมพิณพาทย์หลวง และได้เรียนฆ้องวงใหญ่ กับหลวงบำรุงจิตเจริญ...
ครูสาคร ยังเขียวสด เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือนสาม ปีจอ พุทธศักราช 2465 ที่หน้าวัดคลองตาคล้าย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ในขณะที่คณะหุ่นละครของครูแกร ศัพทวนิช กำลังแสดงเรื่องพระอภัยมณี ตอนกำเนิดสุดสาคร นางปลั่ง ภรรยาครูแกรจึงตั้งชื่อให้ว่า “สุดสาคร” แต่เนื่องจากไม่สบายบ่อย ครั้งหนึ่งเคยเจ็บหนักเกือบเอาชีวิตไม่รอด บิดามารดาจึงนำไปยกให้เป็นลูกของหลวงพ่ออินทร์ พระชาวเขมร ที่วัดจางวางดิษฐ์ พระท่านจึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า...
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงเมื่อ พ.ศ. 2489 ชาวญี่ปุ่นจำนวน 3,872 คน ถูกควบคุมตัวให้มาพำนักอยู่ที่ค่ายพิทักษ์บางบัวทอง การดำเนินชีวิตชาวญี่ปุ่นในค่ายพิทักษ์บางบัวทองดำเนินไปด้วยดี เพราะไทยไม่คิดว่าชาวญี่ปุ่นเหล่านี้เป็นเฉลยศึกแต่อย่างใด ทุกคนใช้ชีวิตอยู่อย่างปกติ บางคนมีภรรยาเป็นคนไทย แต่ภรรยาไม่สามารถเข้าไปอยู่ในค่ายได้ ต้องเช่าบ้านหรือห้องแถวอยู่นอกค่าย ภายในค่ายมีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ มีการจัดเวรทำอาหารและทำงานร่วมกัน เด็กได้ศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนภายในค่าย ผู้ใหญ่ได้เข้ารับการศึกษาภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน...