May 19, 2024

ภาคกลาง

นายไพบูลย์  พวงสำลี ทนายนักอนุรักษ์ท้องถิ่นผู้ก่อตั้งกลุ่มศรีทวารวดี ซึ่งเป็นกลุ่มประชาชนที่สนใจในการอนุรักษ์ตลอดจนเรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เขาชาวจังหวัดนครปฐมโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2502 จบการศึกษาด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ประกอบอาชีพทนายความ เขาเป็นบุคคลผู้มีจิตวิญญาณและผลงานแห่งการอนุรักษ์เป็นที่ประจักษ์ เขามีความสนใจอย่างยิ่งในการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านโบราณคดี โดยเฉพาะในอาณาจักรทวารวดี ที่นครปฐม ความเป็นนักอนุรักษ์และการต่อสู้เพื่อปกป้องโบราณสถานของจังหวัดนครปฐม ดังปรากฏหลักฐานภาพ...
ชมรมอนุรักษ์ฟิล์มเก่า ฟิล์มกระจก ภาพถ่ายขาวดำ ได้มอบไฟล์ภาพเก่าของพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ให้แก่ศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตก หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ เมื่อราว พ.ศ. 2562 ทางศูนย์ข้อมูลฯ สัมภาษณ์ถึงที่มาที่ไป วัตถุประสงค์ ในการตั้งชมรมฯ คุณเอกชัย พงษ์อิศราพันธ์ ผู้ก่อตั้งชมรมให้ข้อมูลว่าท่านประกอบอาชีพส่วนตัว และเป็นนักสะสมซื้อขายภาพถ่ายเก่าในนาม...
ภาพเก่าจังหวัดนครปฐม อาทิ พระปฐมเจดีย์ในวาระโอกาสและมุมมองต่าง ๆ พระประสูติในวิหารทิศเหนือครั้งรัชกาลที่ 4 และปัจจุบัน สะพานเจริญศรัทธา อนุสาวรีย์พระยากง วังปฐมนคร ตลาดในคลองเจดีย์บูชา บ่อเริ่ม และชีวิตผู้คนในสมัยก่อน…อ่านต่อคลิก
พระราชวังสนามจันทร์ มิใช่ที่ประทับเพียงแห่งเดียวของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เมืองนครปฐม แม้จะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ขึ้น ก็ยังมีพระตำหนักสำคัญที่ทรงโปรดเกล้าฯ ใช้ประทับแรมอีกแห่งหนึ่งในช่วงปลายรัชสมัย คือ พระตำหนักสวนนันทอุทยาน เรื่องราวของพระตำหนักแห่งนี้ มีความเป็นมาอย่างไร ใครเป็นผู้สร้าง เหตุใดจึงทรงโปรดที่จะใช้ประทับแรมนานนับเดือนในช่วงปลายรัชกาล…อ่านต่อคลิก
เคยสังเกตหรือไม่ว่า บริเวณส่วนรอบ ๆ องค์ระฆังของพระปฐมเจดีย์ ที่ จ.นครปฐม มีรูกลม ๆ ที่ถูกเจาะไว้โดยรอบ แล้วสงสัยกันหรือไม่ว่าเจ้ารูกลมเหล่านั้นมีไว้เพื่อการใด ที่มาของรูกลมปริศนาจากคำบอกเล่าของคุณตาสุข ทองดี อดีตผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์พระปฐมเจดีย์ คุณตาเล่าว่าสมัยยังหนุ่มตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 คุณตาเคยปีนเอาทางมะพร้าวไปคลุมองค์พระเพื่อพรางตาจากเครื่องบินรบไม่ให้องค์พระโดนทิ้งระเบิด ซึ่งการได้พูดคุยกับคุณตาทำให้เกิดข้อสงสัยว่า...
นวนิยาย เรื่อง รถไฟเที่ยวสุดท้ายจากพญาตองซู นี้ หากแบ่งตามลักษณะของเนื้อเรื่องกล่าวได้ว่าเป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ (Historical Novel) ได้รับรางวัลดีเด่นประเภทนวนิยายจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปี 2565 รางวัลชนะเลิศเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 19 ประจำปี 2565 โดยมีผลการตัดสินเป็นเครื่องยืนยันว่า “…เป็นนวนิยายที่ควรแก่การรับรู้ เรียนรู้...
โอ่งสลักลายวิจิตรทรงโหล ตัวโอ่งมีรูปทรงกระบอกกลมคล้ายโหลแก้ว จึงมักเรียกโอ่งทรงนี้ว่า โอ่งทรงโหล เป็นทรงที่ปั้นยาก เนื่องจากส่วนก้นโอ่งมีพื้นที่มากยากต่อการบ่มให้แห้งหรือเผาไม่ให้ก้นร้าว และดูแลยาก โอ่งทรงนี้จึงมีไม่มาก สำหรับโอ่งสลักลายวิจิตรทรงโหลใบนี้มีขนาดใหญ่ ขอบโอ่งสลักเป็นลายรักร้อยแบบมาลัย ส่วนคอโอ่งตั้งสูงคาดด้วยลายพวงมาลัย ส่วนไหล่ของโอ่ง แบ่งออกเป็น 3 ชั้น แต่ละชั้นประดับด้วยลายกลีบบัวขนาดเล็ก ถัดจากกลีบบัวเล็กชั้นที่...
รำมะนา เป็นเครื่องปั้นดินเผาประเภทเครื่องดนตรีที่ช่างปั้นดินเผาเกาะเกร็ดประดิษฐ์ขึ้นเพื่อความสุนทรียภาพทางดนตรี รำมะนาเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ที่ขึ้นรูปทรงคล้ายคนโทน้ำ รำมะนาดินเผาจากบ้านเกาะเกร็ดเป็นเครื่องดนตรีที่ตีแล้วมีเสียงไพเราะ เป็นที่ต้องการของนักดนตรีไทย ทั้งนี้ สามารถดูรำมะนาดินเผา ในรูปแบบ AR ได้โดยวิธีดังนี้ อ่านต่อได้ที่ หนังสือวิจิตรศิลป์ดินเผาเกาะเกร็ด https://library.stou.ac.th/wp-content/flipbook/978-616-16-2855-0/
การประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา ช่างปั้นมีจินตนาการการออกแบบรูปทรงต่างๆ ตามความคิดของช่างปั้น เป็นภูมิปัญญาและทักษะทางศิลปะของช่างปั้น เครื่องปั้นที่มีรูปทรงแปลกๆ ช่างปั้นบ้านเกาะเกร็ดจะจัดให้อยู่ในหมวดของเครื่องปั้นทรงตลก ทั้งนี้ สามารถดูโอ่งน้ำทรงตลก ในรูปแบบ AR ได้โดยวิธีดังนี้ อ่านต่อได้ที่ หนังสือวิจิตรศิลป์ดินเผาเกาะเกร็ด https://library.stou.ac.th/wp-content/flipbook/978-616-16-2855-0/
บาตรพระดินเผา เป็นภาชนะสำหรับใส่อาหารของพระสงฆ์ สามเณร ก่อนที่จะมีการใช้บาตรโลหะ ปัจจุบันบาตรดินเผาใช้สำหรับใส่น้ำมนต์แทนขันน้ำมนต์ ทั้งนี้ สามารถดูบาตรพระดินเผา ในรูปแบบ AR ได้โดยวิธีดังนี้ อ่านต่อได้ที่ หนังสือวิจิตรศิลป์ดินเผาเกาะเกร็ด https://library.stou.ac.th/wp-content/flipbook/978-616-16-2855-0/