May 17, 2024

นวนิยาย เรื่อง รถไฟเที่ยวสุดท้ายจากพญาตองซู นี้ หากแบ่งตามลักษณะของเนื้อเรื่องกล่าวได้ว่าเป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ (Historical Novel) ได้รับรางวัลดีเด่นประเภทนวนิยายจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปี 2565 รางวัลชนะเลิศเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 19 ประจำปี 2565 โดยมีผลการตัดสินเป็นเครื่องยืนยันว่า “…เป็นนวนิยายที่ควรแก่การรับรู้ เรียนรู้ และเป็นตัวอย่างในการไม่ทำซ้ำ และในขณะเดียวกันก็นับได้ว่าเป็นรูปแบบใหม่ของการเขียนในอนาคต ที่ต้องการ “ข้อเท็จจริง” ที่ชัดเจนมากกว่า “จินตนาการ” และได้รับคัดเลือกรอบแรกในประเภทนวนิยาย จากการประกวดรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2564 ด้านเนื้อหานั้นในเชิงวิชาการก็คือข้อเท็จจริงที่นำมาเขียนในรูปแบบของนวนิยายโดยคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล หากชื่อบุคคลหรือเหตุการณ์ใดไปพ้องกับบุคคลหรือประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นจริง ผู้เขียนจะนำเสนอโดยสร้างสมมุติเพิ่มความเป็นนวนิยาย ขณะที่บางประเด็นเขาก็เลือกที่จะใช้ชื่อและตำแหน่งที่แท้จริงของตัวละคร กลวิธีในการนำข้อมูลมาร้อยเรียงให้งานที่เนื้อหาดูเสมือนเป็นงานวิชาการแปลงเปลี่ยนเป็นนวนิยาย
ที่คนส่วนใหญ่มักตีความว่าเป็นหนังสือประโลมโลก ทำให้เรื่องราวของผู้คน เหตุการณ์ ที่เคยเกิดขึ้นได้แฝงเล่าข้อเท็จจริงผ่านตัวละคร ที่มีทั้งคำบอกเล่าสามัญและคำบอกเล่ากึ่งฝันกึ่งจริงอย่างแยบยลชวนให้ติดตาม การตามรอยเรื่องย่อนี้ จะได้นำพาย้อนสู่เหตุการณ์ต่าง ๆ เมื่อครั้งอดีตที่เกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่ 2 เฉพาะอย่างยิ่งการสร้างทางรถไฟสายมรณะจากไทยไปสู่พม่า โดยผ่านสื่อชนิดต่าง ๆ อาทิ วิดิทัศน์เหตุการณ์ที่หาชมได้ยาก การสัมภาษณ์ผู้คนร่วมสมัย การเล่าเรื่องผ่านพิพิธภัณฑ์ ตลอดจนข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ อันเป็นข้อเท็จจริง…อ่านต่อคลิก

Loading

Rate this post

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *