May 3, 2024

ภาคใต้

เมื่อสุลต่านปาติกสยามหรือกุมารสยามได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองปัตตานีตั้งแต่ยังเด็กตามคำสั่งเสียของสุลต่านมันโซร์ (น้าชาย) พี่ชายต่างมารดาไม่พอใจ จึงเกิดการทะเลาะวิวาทกัน สุลต่านปาติกสยามจึงถูกฆาตกรรม และต่อมาพี่ชายก็ถูกฆาตกรรมเช่นกัน ลูกชายของสุลต่านมันโซร์จึงได้ขึ้นครองราชย์ แต่ขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานก็เสียชีวิต ด้วยเหตุนี้จึงหารัชทายาทที่่เป็นผู้ชายเพื่อขึ้นสืบทอดต่อไม่ได้ จึงมีการประชุมกันให้แต่งตั้งเจ้าเมืองที่เป็นผู้หญิง เนื่องจากกล่าวกันว่า หากให้สามัญชนมาเป็นเจ้าเมือง บ้านเมืองจะไม่สงบ จึงต้องแต่งตั้งเจ้าเมืองที่เป็นรัชทายาท เมื่อไม่มีรัชทายาทผู้ชาย ก็อนุโลมให้แต่งตั้งผู้หญิงในตระกูลเป็นเจ้าเมืองแทน จึงมีเจ้าเมืองผู้หญิงติดต่อกันถึง...
ต้นตระกูลของนายปุ่ย แซ่ตัน ประเทศไทยมีพระมหากษัตรเป็นชาวจีนฮอกเกี่ยน คือ พระเจ้าตากสิน จึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกและอบยพมาประเทศไทยมาโดยทางเรือ ระหว่างเดินทางก็มีการแวะผ่านประเทศเวียดนาม ฟิลิบปิลย์ มาถึงประเทศไทยในรัชการที่ 3 ไม่ใช่จีนฮอกเกี้ยนแล้ว และได้สืบทราบว่าเจ้าเมืองสงขลาเป็นจีนฮอกเกี่ยน จึงได้นั่งเรือต่อมายังสงขลา ได้มาทำค้าขาย ทำฟาร์มหมู และได้เกิดกบฏไทรบุรีย์ ท่านจึงได้อาสาเจ้าเมืองสงขลาปราบกบฏไทรบุรี...
ในสมัยก่อนบริเวณอ่าวปัตตานี เป็นฮวงซุ้ยสุสานของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว สมัยก่อนบริเวณอ่าวปัตตานี จะมีที่จอดเรือค้าขาย ลักษณะมีพื้นที่ดิน ฮวงซุ้ยของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวจึงตั้งอยู่ที่นั่น แต่เมื่อเวลาผ่านไปเกิดการกัดเซาะของน้ำทะเล ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รับสั่งให้มีการอนุรักษ์ไว้ จึงได้ทำพิธีอันเชิญฮวงซุ้ยของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวมาไว้ที่เมืองกรือเซะ และได้สร้างรูปปั้นเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวไว้ใต้ต้นมะม่วงหิมะพานต์ ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังของมัสยิดกรือเซะ ต่อมาชาวจีนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ที่เมืองกรือเซะ ได้ย้ายถิ่นฐานอาศัยไปที่เมืองปัตตานี … อ่านต่อคลิก...
มัสยิดกรือเซะ มีตำนานเล่าถึงเหตุผลที่ทำให้ไม่สามารถสร้างมัสยิดให้เสร็จว่า ในอดีตมีชาวจีนคนหนึ่ง ชื่อว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยม ได้ล่องเรือมาค้าขายที่เมืองกรือเซะ จากนั้นได้รกรากอาศัยอยู่ที่เมืองกรือเซะ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมอาศัยอยู่ที่เมืองกรือเซะเป็นเวลานาน จึงได้แต่งงานกับพระธิดาของพระยาตานี จึงได้เข้ารับศาสนาอิสลาม ด้วยลิ้มโต๊ะเคี่ยมมีความสามารถเป็นช่าง จึงได้รับมอบหมายให้เป็นคนสร้างมัสยิดกรือเซะขึ้นมา ฝั่งน้องสาวลิ้มโต๊ะเคี่ยม คือ ลิ้มกอเหนี่ยว ที่อยู่กับมารดาที่เมืองจีน เห็นว่ามารดาชราและคิดถึงลูกชาย จึงอาสาออกไปตามพี่ชายให้กลับเมืองจีน...
ชุมชนดงต้นหยี เป็นชุมชนที่มีการอนุรักษ์พื้นที่การปลูกต้นหยีไว้เป็นบริเวณกว้าง มีทั้งต้นหยีที่ปลูกใหม่ และต้นหยีที่มีอายุเก่าแก่มากมายหลายต้น โดยต้นหยีที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุด คือ ต้นหยียักษ์อายุมากกว่า 400 ปี ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงให้ผลผลิตอยู่ การเก็บผลผลิตลูกหยีจากต้นหยีที่มีขนาดสูงใหญ่เหล่านี้ จำเป็นต้องใช้คนปีนเก็บลูกหยีที่มีความชำนาญ มีความกล้าในการปีน ปัจจุบันในชุมชนนี้ มีคนรับจ้างปีนเก็บลูกหยีเหลืออยู่ประมาณ 15 คน...
ขนมลอปะตีแก เรียกตามภาษามลายูว่า “ลมปัตตีกัม” ซึ่งคนในพื้นที่ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จะเรียกกันติดปากว่า “ลอปะตีแก” ซึ่งแปลว่า “กระโดดแทง” เป็นขนมหวานที่ขึ้นชื่อและอร่อยมีขายทั้งฝั่งไทยและมาเลเซีย ถือได้ว่าเป็นขนมพื้นบ้านของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีส่วนผสมของใบเตยเป็นสำคัญ ทำด้วยข้าวเจ้า รับประทานกับน้ำตาลแว่น...
นาซิดาแฆ เป็นอาหารมลายูสามจังหวัดแท้ๆ เป็นอาหารที่ปรุงด้วยข้าวเจ้าผสมกับข้าวเหนียวและหางกะทินึ่งสุกคนให้ทั่ว และใส่ฮาลือบอ (เครื่องเทศ) แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน รับประทานกับแกงปลาโอ แกงไก่ หรือแกงไข่ โรยหน้าด้วยข้าวคั่วและมะพร้าวคั่ว แนมด้วยพริกสด เป็นอาหารมื้อเช้าก็ได้ มื้อเที่ยงก็ได้ และยังเป็นอาหารสำคัญในพิธีต่างๆ เช่น ในงานแต่งงาน งานฉลองวันฮารีรายอ...
ลิมนต์หรือโต๊ะครึม เป็นการละเล่นหรือประเพณีท้องถิ่นที่เกี่ยวพันกับความเชื่อในสิ่งที่มีเชื่อในสิ่งที่เป็น เชื่อในการกระทําและการแก้เหตุให้คลายหรือหมดสิ้นไปเป็นต้นเหตุของการเล่นลิมนต์ การละเล่นลิมนตร์หรือโต๊ะครึมเป็นบทไหว้ภูมิบทไหว้ภูมิคือบทไหว้ครูลิมนต์ที่มีเนื้อหากล่าวอ้างถึงถึงพระคุณและการขอพลีสถานที่จากพระแม่ธรณีเพื่อใช้ปลูกโรงทำพิธีกรรม อีกทั้งเนื้อหายังกล่าวอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระภูมิ เทวดาอารักษ์ ผีรุกขเทวดาในสถานที่ต่าง ๆ ที่เคารพนับถือ เหมือนอย่างที่ อภิญญา เฟื่องฟูสกุล, ๒๕๔๑ กล่าวว่า… ในพิธีกรรมลิมนต์นี้มีเครื่องบูชาต่าง ๆ ที่จะต้องผ่านกระบวนการเสก ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ใช่ญาติพี่น้องไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวใน โรงพิธีที่ถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์...
ข้าวยำอาหารเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่างนิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า หรืออาหารกลางวัน เรียกกันในภาษามลายูท้องถิ่นว่า “นาซิเกอราบู” (Nasi kerabu) ซึ่ง “นาซิ” แปลว่า “ข้าว” ส่วน “เกอราบู” แปลว่า “ยำ” หมายถึงข้าวสุกที่คลุกกับน้ำบูดู ข้าวยำมีหลายชนิดด้วยกัน...
วัดคูเต่าเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในจังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ริมคลองอู่ตะเภาก่อนออกสู่ทะเลสาบสงขลา สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาโดยพระอุปัชฌาย์แก้วประมาณปี พ.ศ. ๒๒๙๙ ในที่ดินเป็นของนายสร้าง (ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งเป็นชาวจีนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในตำบลคูเต่าและได้หยุดการก่อสร้างลงไประยะหนึ่งเนื่องจากพระอุปัชฌาย์แก้วมรณภาพลง ต่อมาอุปัชฌาย์หนูได้ดำเนินการสร้างต่อจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ โดยเฉพาะพระอุโบสถซึ่งมีความกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๔ เมตร...