May 3, 2024

ภาคใต้

นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดใหญ่ที่สำคัญจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย  ในอดีตนครศรีธรรมราช มีฐานะเปรียบดังเมืองหลวงของเมืองน้อยใหญ่ในคาบสมุทรมลายู เป็นเมืองประวัติศาสตร์และเมืองหลักทางวัฒนธรรมที่ส่งอิทธิพลด้านศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปกรรมที่ถ่ายทอดส่งผ่านและเผยแพร่ไปยังเมืองต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้  นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักอย่างกว้างขวางมาแล้วไม่น้อยกว่า 1,800 ปี โดยหลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานทางเอกสารที่ปรากฏในปัจจุบันยืนยันได้ว่า นครศรีธรรมราชถือกําเนิดมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 แล้วเป็นอย่างน้อย ความรุ่งเรืองของนครศรีธรรมราชกระจ่างชัดขึ้นเมื่อเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์...
วัดโพธิ์ปฐมาวาส เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในจังหวัดสงขลา ตามประวัติกล่าวว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณปี พ.ศ. ๒๒๐๐ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง บริเวณที่ตั้งวัดเดิมเรียกว่าสถานที่ค้าโภค์ (หมายถึงตลาดนัด) แต่เดิมจึงเรียกวัดนี้ว่าวัดโพ (โภค์) ต่อมาได้เพี้ยนเป็นวัดโพธิ์ และในสมัยพระครูสังฆโศภน (อดีตเจ้าอาวาส) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดโพธิ์ปฐมาวาส”...
ผ้าพุมเรียงเป็นผ้าพื้นเมืองของตำบลพุมเรียง ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นของอําเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามนโยบายหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของรัฐบาล ตําบลพุมเรียงห่างจากตัวอําเภอไชยาไปประมาณ ๕ กิโลเมตร มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลเรียกว่าแหลมโพธิ์ ซึ่งมีหาดทรายขาวสะอาดและสวยงาม ในอดีตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้เสด็จประพาสและสร้างศาลาไว้ซึ่งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มาจนถึงทุกวันนี้ การทอผ้าไหมพุมเรียงมีประวัติและพัฒนาการคู่กับการทอผ้าของภาคใต้ จากหนังสือผ้าทอภาคใต้ของอาจารย์รัชนี กัลยาณคุณาวุฒิ (๒๕๓๘ ; ๕๗)...
เครื่องทรงโนรา เรียกกันอีกชื่อว่า “เครื่องรูปปัด” เป็นเครื่องแต่งกายของโนรา ที่ได้มีการนำลูกปัดหลากสี เม็ดเล็กๆ มาร้อยให้เป็นลวดลาย เช่น ลายดอกดวง ลายลูกแก้ว หรือลายข้าวหลามตัด (เป็นลายที่ปรากฏอยู่ในลายเรือพระ) เป็นต้น ส่วนการนำลูกปัดถนิมพิมพาภรณ์แห่งโลกโบราณมาตกแต่งเป็นเครื่องแต่งกายโนรานั้น ยังคงเป็นปริศนาว่าได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมลูกปัดโบราณแห่งลุ่มน้ำสินธุของเอเซียใต้หรือไม่ ตามหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบลูกปัดโบราณมากมาย ที่เข้ามาสู่แผ่นดิน...
น้ำบูดู เป็นผลิตภัณฑ์พื้นเมืองที่ได้รับความนิยมในภาคใต้ ทำมาจากการหมักปลากับเกลือ ใช้เวลาในการหมักประมาณ 1 ปี น้ำบูดูเป็นส่วนประกอบหลักที่ใช้ในการทำข้าวยำ ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองที่สำคัญของภาคใต้ น้ำบูดูจากอำเภอสายบุรีจะเป็นที่ขึ้นชื่อว่าอร่อยมากที่สุดเพราะใช้ปลากะตัก จะมีกลิ่นหอม รสชาติดี และสามารถเก็บไว้ได้นาน ซึ่งมีให้เลือก 2 ชนิดคือ แบบเค็มและแบบหวาน บูดูเป็นของเหลวขุ่นที่เป็นสารแขวนลอย...
ผ้าลีมาบาติก : เป็นการนำลวดลายจากผ้าลีมา (ผ้าจวนตานี) ประยุกต์พิมพ์ลงบนผ้าบาติก ก่อให้เกิดการพัฒนา และต่อยอดศิลปะ องค์ความรู้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ผู้สร้างสรรค์ได้ถอดแบบจากลายทอ มาดัดแปลงลายขึ้นใหม่ ให้เหมาะกับการทำพิมพ์ด้วยเหล็ก บางส่วนผ่านการตัดทอน บางส่วน ได้เพิ่มเติมขึ้น แต่ภาพรวมของแต่ละลายก็ยังคงมีเค้าโครงลายเดิมอยู่...
มัสยิดรายอปัตตานี หรือรายอฟาฏอนี ตั้งอยู่ที่ถนนยะรัง ซอย 8 ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เดิมเป็นมัสยิดแห่งรัฐปัตตานี เริ่มก่อสร้างเมื่อสมัยเมืองปัตตานีเป็นเมืองหรือรัฐปัตตานี มีเจ้าเมืองปกครองตนเอง คือ สุลต่านมูฮัมหมัด หรือ ตนกูบือซาร์ หรือ ตนกูปะสา...
ผ้าเกาะยอเป็นผ้าทอพื้นเมืองของชาวบ้านในตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสงขลา ที่มีความประณีตและสีสันที่สวยงามโดยมีการทอยกดอกที่มีลวดลายอ่อนนุ่ม ถือเป็นสัญลักษณ์หัตถกรรมพื้นบ้านของภาคใต้และยังเป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ผ้าทอเกาะยอทอมาจากเส้นใยฝ้ายที่มีเนื้อแน่น ลวดลายไม่ซับซ้อน เป็นลวดลายที่เกิดจากการขิด (ขิดเป็นภาษาพื้นบ้านของภาคอีสานมาจากคำว่าสะกิด หมายถึงการงัดช้อนขึ้น การสะกิดขึ้น ซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่คนไทยได้สืบทอดกันมานาน) โดยการทอด้วยมือและแบบเหยียบตะกอแยกเส้นยืนขึ้น-ลง...
บ้านเลขที่ 1 เป็นบ้านทรงจีน 2 ชั้น ตั้งอยู่ตรงหัวมุมถนนอาเนาะรู บ้านเลขที่ 1 ไม่ใช่บ้านหลังแรกของย่านเมืองเก่าแต่เป็นบ้านที่มีเลขที่เป็นลำดับแรกของที่นี่หลังมีระบบจัดทำทะเบียนบ้าน บ้านหลังนี้มีกำแพงรอบบริเวณบ้าน มีสวนอยู่หลังบ้าน พื้นบ้านสร้างยกสูงจากถนน ผนังบ้านมีความหนามาก กลางบ้านเปิดหลังคาโล่งทำให้อากาศถ่ายเทได้ดี ภายในบ้านมีประตูกลสำหรับกันขโมย เมื่อปิดแล้วจะเปิดไม่ได้หากไม่รู้วิธีเปิด หลังคาเป็นหลังคาจั่ว...
ผลิตภัณฑ์ผ้าจวนตานี หรือผ้าลีมา หรือผ้ายกตานี หรือผ้าล่องจวน เป็นผ้าพื้นเมืองดั้งเดิมของปัตตานี มี แหล่งผลิต คือ ชุมชนทรายขาว อ.โคกโพธิ์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทอด้วยเส้นใยไหม ส่วนชุมชนบ้านตรัง อ.มายอ ทอด้วยเส้นใยฝ้าย ต่อมามีโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าท้องถิ่น พัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนจึงพัฒนาต่อยอดทอผ้าจวนตานี ด้วยเส้นใยฝ้าย...