April 18, 2024

Kanung Buapool

ลิมนต์หรือโต๊ะครึม เป็นการละเล่นหรือประเพณีท้องถิ่นที่เกี่ยวพันกับความเชื่อในสิ่งที่มีเชื่อในสิ่งที่เป็น เชื่อในการกระทําและการแก้เหตุให้คลายหรือหมดสิ้นไปเป็นต้นเหตุของการเล่นลิมนต์ การละเล่นลิมนตร์หรือโต๊ะครึมเป็นบทไหว้ภูมิบทไหว้ภูมิคือบทไหว้ครูลิมนต์ที่มีเนื้อหากล่าวอ้างถึงถึงพระคุณและการขอพลีสถานที่จากพระแม่ธรณีเพื่อใช้ปลูกโรงทำพิธีกรรม อีกทั้งเนื้อหายังกล่าวอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระภูมิ เทวดาอารักษ์ ผีรุกขเทวดาในสถานที่ต่าง ๆ ที่เคารพนับถือ เหมือนอย่างที่ อภิญญา เฟื่องฟูสกุล, ๒๕๔๑ กล่าวว่า… ในพิธีกรรมลิมนต์นี้มีเครื่องบูชาต่าง ๆ ที่จะต้องผ่านกระบวนการเสก ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ใช่ญาติพี่น้องไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวใน โรงพิธีที่ถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์...
ข้าวยำอาหารเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่างนิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า หรืออาหารกลางวัน เรียกกันในภาษามลายูท้องถิ่นว่า “นาซิเกอราบู” (Nasi kerabu) ซึ่ง “นาซิ” แปลว่า “ข้าว” ส่วน “เกอราบู” แปลว่า “ยำ” หมายถึงข้าวสุกที่คลุกกับน้ำบูดู ข้าวยำมีหลายชนิดด้วยกัน...
ฮูปแต้ม เป็นคําพื้นเมืองในภาษาถิ่นวัฒนธรรมลาว ชาวอีสานโบราณ ฮูปแต้ม หมายถึง รูป และคําว่า แต้ม หมายถึง การขีดเขียนหรือการระบายสี เพื่อให้เกิดลักษณะอย่างรูป รวมกันจึงหมายถึง ภาพเขียน หรือรูปเขียน โดยต่อมาถูกนักวิชาการใช้เรียกในความหมายเดียวกันกับ งานจิตรกรรมในวัฒนธรรมหลวง โดยช่างผู้สร้างงานเหล่านี้ภาษาพื้นเมืองอีสานเรียกว่า...
วัดคูเต่าเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในจังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ริมคลองอู่ตะเภาก่อนออกสู่ทะเลสาบสงขลา สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาโดยพระอุปัชฌาย์แก้วประมาณปี พ.ศ. ๒๒๙๙ ในที่ดินเป็นของนายสร้าง (ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งเป็นชาวจีนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในตำบลคูเต่าและได้หยุดการก่อสร้างลงไประยะหนึ่งเนื่องจากพระอุปัชฌาย์แก้วมรณภาพลง ต่อมาอุปัชฌาย์หนูได้ดำเนินการสร้างต่อจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ โดยเฉพาะพระอุโบสถซึ่งมีความกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๔ เมตร...
ปี พ.ศ ๒๕๐๔ รัฐบาลที่มีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีความเห็นว่าการจะพัฒนาภาคใต้ให้เจริญรวดเร็วนั้น จําเป็นต้องเร่งรัดพัฒนาทางด้านการศึกษา ซึ่งพิจารณาเห็นว่า เยาวชนในภาคใต้ที่สําเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาแล้วก็ต้องไปศึกษาที่กรุงเทพฯ หรือไม่ก็เดินทางไปศึกษาต่อที่มาเลเซีย ปีนังหรือสิงคโปร ซึ่งเป็นการสูญเสียเงินตราของประเทศ นอกจากนี้เนื่องจากในขณะนั้นสถานการณ์ในสี่จังหวัดภาคใต้ กําลังอยู่ในขั้นรุนแรงมาก อิทธิพลของโจรก่อการร้ายและขบวนการแยกดินแดนของกลุ่มต่าง ๆ...
วัดโพธิ์ปฐมาวาส เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในจังหวัดสงขลา ตามประวัติกล่าวว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณปี พ.ศ. ๒๒๐๐ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง บริเวณที่ตั้งวัดเดิมเรียกว่าสถานที่ค้าโภค์ (หมายถึงตลาดนัด) แต่เดิมจึงเรียกวัดนี้ว่าวัดโพ (โภค์) ต่อมาได้เพี้ยนเป็นวัดโพธิ์ และในสมัยพระครูสังฆโศภน (อดีตเจ้าอาวาส) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดโพธิ์ปฐมาวาส”...
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนได้ตระหนักและเล็งเห็นคุณค่าและความสำคัญของข้อมูลท้องถิ่น จึงได้ออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเก็บรวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นภาคใต้ ทั้งนี้เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับภาคใต้ในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้คนในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะเยาวชนได้ตระหนักและเห็นคุณค่า ตลอดถึงภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพชน ซึ่งผู้พัฒนาได้รวบรวม เรียบเรียง วิเคราะห์...
ผ้าเกาะยอเป็นผ้าทอพื้นเมืองของชาวบ้านในตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสงขลา ที่มีความประณีตและสีสันที่สวยงามโดยมีการทอยกดอกที่มีลวดลายอ่อนนุ่ม ถือเป็นสัญลักษณ์หัตถกรรมพื้นบ้านของภาคใต้และยังเป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ผ้าทอเกาะยอทอมาจากเส้นใยฝ้ายที่มีเนื้อแน่น ลวดลายไม่ซับซ้อน เป็นลวดลายที่เกิดจากการขิด (ขิดเป็นภาษาพื้นบ้านของภาคอีสานมาจากคำว่าสะกิด หมายถึงการงัดช้อนขึ้น การสะกิดขึ้น ซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่คนไทยได้สืบทอดกันมานาน) โดยการทอด้วยมือและแบบเหยียบตะกอแยกเส้นยืนขึ้น-ลง...