May 18, 2024

ชีวประวัติ

          พลเอกหลวงกัมปนาทแสนยากร (กำปั่น อุตระวณิชย์) เกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2442 ที่บ้านบางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี บิดาชื่อ นายโต มารดาชื่อ นางเชย ปู่ชื่อ หลวงอุดรพันธ์พาณิชย์ (ตุ้ย อุตระวณิชย์) สกุลเดิมของพลเอกหลวงกัมปนาทแสนยากร คือ อุตระวณิชย์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4 คน คือ

นายเพิ่ม อุตระวณิชย์

พลเอกหลวงกัมปนาทแสนยากร (กำปั่น อุตระวณิชย์)

นางชื่น ปุณยานันท์

นายเทียบ อุตระวณิชย์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)

พลเอกหลวงกัมปนาทแสนยากร เข้ารับราชการเป็นนักเรียนนายร้อย เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2458 ในโรงเรียนนายร้อยทหารบกและสำเร็จได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเป็นนายร้อยตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2466

พ.ศ.2466 ได้ทำการสมรสกับนางสาวชุ้ม เกษสมัย บุตรนายช่วง นางพลอย เกษสมัย ทูลกระหม่อมอัษฎางค์ (กรมหลวงนครราชสีมา) องค์รัชทายาทสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาเสด็จไปเป็นองค์ประธานสวมมงคลคู่บ่าวสาว และพระราชทานน้ำสังข์ ณ ที่บ้านนายช่วง นางพลอย เกษสมัย คลองบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี

บุตร ธิดา ที่เกิดจากนางชุ่ม กัมปนาทแสนยากร มี 6 คน คือ

1. พลตำรวจตรีบันเทิง กัมปนาทแสนยากร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

2. นายแพทย์ไชยยันตร์ กัมปนาทแสนยากร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจำองค์การอนามัยโลก (WHO) ประจำอยู่ที่ประเทศอินเดีย

3. พันเอกประชุม กัมปนาทแสนยากร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประจำกองยุทธพิเศษ กรมยุทธการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด

4. นางสมศรี กันธมาลา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาไทย

5. นางสมทรวง มุตตามระ ปัจจุบันทำงานที่บริษัทไทยยิบซั่ม

6. นายบันลือ กัมปนาทแสนยากร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนพัฒนาตลาดและผลิตภัณฑ์ บริษัทค้าวัสดุก่อสร้าง จำกัด

และมีบุตร ธิดา ที่เกิดจากภรรยาอื่น ๆ อีก ดังนี้

เกิดจากนางพูลศรี กัมปนาทแสนยากร (ถึงแก่กรรมแล้ว) 4 คน

1) พันตรีนฤนาท กัมปนาทแสนยากร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก

2) นางกาญจนา เชาวนโยธิน ปัจจุบันทำงานเป็นพยาบาลที่แพทย์หลวงสวนจิตรลดา

3) นางอรวรรณ อินทรทัต ปัจจุบันทำงานที่องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

4) นางกัลบา ชโยดม ปัจจุบันประกอบอาชีพส่วนตัว

เกิดจากนางศรีไทย กรรมสิทธิ์ 1 คน คือ นางสาวกรรณิกา กัมปนาทแสนยากร ปัจจุบันทำงานบริษัทไทยเอนจิเนียริ่งคอนซัลแตนท์ จ.ก. (ที.อี.ซี.)

เกิดจากนางเฉลียว สุดสิงขร 1 คน คือ นางสาวศรัณยา กัมปนาทแสนยากร ปัจจุบันทำงานที่กองดุริยางค์ทหารบก

เกิดจากนางยุพิน กัมปนาทแสนยากร 2 คือ คือ นางสาวกัลยารัตน์ กัมปนาทแสนยากร ปัจจุบันทำงานที่บริษัทเดินอากาศไทย และนายเฉลิมวงศ์ กัมปนาทแสนยากร ปัจจุบันกำลังศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา

พลเอกหลวงกัมปนาทแสนยากร มีบุตร ธิดา รวมทั้งสิ้น 14 คน มีหลานปู่และหลานตา รวมทั้งสิ้น 30 คน

          เดือนสิงหาคม พ.ศ.2517 พลเอกหลวงกัมปนาทแสนยากร ได้เข้ารับการผ่าตัดต่อมลูกหมากที่โรงพยาบาลรารมธิบดี หลังจากผ่าตัดได้ 2-3 วัน มีอาการทางสมองแทรงทำให้โคม่าอยู่หลายวัน แต่ต่อมาอาการดีขึ้นโดยลำดับจนกลับบ้านได้ และมีความสามารถเกือบเหมือนปกติ นอกจากกำลังขาไม่มีแรง ต้องออกกำลังกายทุกวัน และหัดเดิน ส่วนอาการเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะซึ่งเกี่ยวกับต่อมลูกหมากก็ดีขึ้น สามารถบังคับได้

วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2518 พลเอกหลวงกัมปนาทแสนยากรมีอาการต่าง ๆ ปกติ หลังจากนอนหลับพักผ่อนหลังอาหารกลางวัน ได้ตื่นขึ้นมาประมาณ 14.15 น. รู้สึกกระหายน้ำ หลังจากดื่มน้ำแล้วสักครู่หนึ่งก็มีอาการไอแล้วสิ้นใจ โดยอาการสงบ ซึ่งแก้ไขไม่ทัน รวมอายุได้ 75 ปี 7 เดือนพอดี

ประวัติเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ  

ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร ดังนี้

          วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2466 เป็น นายร้อยตรี

          วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2471 เป็น นายร้อยโท

          วันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2473 เป็น นายร้อยเอก

          วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2478 เป็น นายพันตรี

          วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2483 เป็น นายพันโท

          วันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2486 เป็น นายพันเอก

          วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2491 เป็น นายพลตรี

          วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2497 เป็น นายพลโท

          วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2502 เป็น นายพลเอก

ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ ดังนี้

         วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2475 เป็นหลวงกัมปนาทแสนยากร ถือศักดินา 800 ลาออกจากบรรดาศักดิ์เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 กลับใช้บรรดาศักดิ์เดิมเมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม พ.ศ.2493 ได้ทำงานในตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้

          วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2466 นายร้อยตรีประจำกรมทหารบกราบที่ 6

          วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2467 ประจำกอง โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม

          วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2468 ประจำกรมทหารพรานในกองพลทหารบกที่ 6

                    พฤษภาคม พ.ศ.2469 ประจำกรมทหารพรานในดองพลทหารบกที่ 7

          วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2470 นายทหารคนสนิทของผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 16

          วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2471 นายทหารคนสนิทของผู้อำนวยการแผนกโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

          วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2475 นายทหารคนสนิทของเจ้ากรมบุทธศึกษาทหารบก

          วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2475 ครูวิชาทหารหรมยุทธศึกทหารบก

          วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2477 ผู้บังคับกองร้อยโรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก

          วันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2475 ผู้บังคับกองโรงเรียนนายร้อยทหารบก ร้อย 3

          วันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2481 รองผู้บังคับการโรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก

          วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 รองผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก

          วันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2483 ผู้บังคับโรงเรียนเตรียมทหารบก

          วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2483 สนาธิการจังหวัดทหารบกสงขลาและรักษาการราชการเสนาธิการจังหวัด ทหารบกสงขลาอีกตำแหน่งหนึ่ง

          วันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2484 ประจำกรมเสนาธิการทหารบก

          วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2488 รองผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 6

          วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2489 รองผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 2

          วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2491 ผู้บัญชาการกองพลที่ 4

          วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2491 ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

          วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2496 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการภาค 5

          วันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2500 และวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2501 มีพระราชโองการโปรกเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (2 สมัย)

ยศและตำแหน่งพิเศษ

  • วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2482 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชองครักษ์เวร
  • วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2
  • วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2494 เป็นราชองครักษ์พิเศษ
  • วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 เป็นที่ปรึกษากองอำนวยการฝ่ายพลเรือน กองบัญชาการคณะปฏิวัติ
  • วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2503 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี

 

ไปราชการทัพ

          ได้ไปราชการสนามในกรณีฉุกเฉินคราวสงครามมหาเอเชียบูรพา ตั้งแต่ 25 มกราคม พ.ศ.2485 ถึง 6 กรกฎาคม พ.ศ.2488

 

รับพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์ ชั้นสูงสุดประเภทต่าง ๆ ดังนี้

  1. ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) วันที่ 5 พฤษภาคม 2507
  2. มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) วันที่ 5 ธันวาคม 2505
  3. มหาวชิรมงกุฎไทย (ม.ว.ม.) วันที่ 5 ธันวาคม 2500
  4. รัตนาภรณ์ 1 (ภ.ป.ร.,) วันที่ 15 มีนาคม 2509

 

งานพิเศษ

  1. ประธานกรรมการมูลนิธืราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมป์
  2. ประธานกรรมการบริษัทยิบซั่ม จำกัด
  3. ประธานกรรมการผลิตภัณฑ์ไทยยิบซั่ม จำกัด

รายการอ้างอิง

(2518). พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงกัมปนาทแสนยากร (กำปั่น อุตระวณิชย์) ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันที่ 11 ธันวาคม 2518. เอราวัณการพิมพ์.

 
Rate this post

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *