April 30, 2024

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ฐานข้อมูลเหตุการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Southern Border Area News Summarises) เป็นฐานข้อมูลที่วิเคราะห์เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากสำนักพิมพ์ออนไลน์ต่างๆ ในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 จนถึงปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใช้อธิบายปรากฎการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อศึกษาแนวโน้มและเฝ้าระวังสถานการณ์ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อสร้างองค์ความรู้ต่อยอดในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป คลิกเพื่อเข้าใช้ระบบ
รวบรวมงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักศาสนาอิสลาม ประชากรมุสลิม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ กฎหมาย การศึกษา ที่จัดทำขึ้นโดยบัญฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เข้าใช้งานได้ที่ https://www.oas.psu.ac.th/thesis/
ฐานข้อมูลจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศทางด้านประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในหัวแง่มุมต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของเอกสาร ภาพถ่าย เสียงและมัลติมีเดีย ที่ให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้โดยผ่านระบบเครือข่าย เพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษาสะท้อนถึงที่มาและ คุณค่า วัฒนธรรมองค์กร อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้คนต่างวัฒนธรรม เข้าใช้งานได้ที่ https://psuarchive.oas.psu.ac.th/
ฐานข้อมูลวิจัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ (Southernmosy Provinces Research Database)พัฒนาขึ้นตามข้อเสนอแนะของโครงการวิจัยเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์เพื่อสันติสุขของชาติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติฐานข้อมูลวิจัยนี้จะเป็นช่องทางการนำเสนอข้อมูลจากการวิจัยเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ทั้งในด้านการเมืองการปกครองศิลปะ และวัฒนธรรม วิถีชีวิตและประเพณีประวัติศาสตร์ ภูมิทัศน์ และการท่องเที่ยว ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมการศึกษา สุขภาพอนามัย ศาสนา...
โครงการวิจัยภายใต้ชุดโครงการ มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี “ม.อ.ปัตตานีกับการขับเคลื่อนศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา: วงแหวนพหุวัฒนธรรมเมืองปัตตานี” เข้าใช้งานได้ที่ https://pattaniheritagecity.psu.ac.th/
บ้านเลขที่ 1 เป็นบ้านทรงจีน 2 ชั้น ตั้งอยู่ตรงหัวมุมถนนอาเนาะรู บ้านเลขที่ 1 ไม่ใช่บ้านหลังแรกของย่านเมืองเก่าแต่เป็นบ้านที่มีเลขที่เป็นลำดับแรกของที่นี่หลังมีระบบจัดทำทะเบียนบ้าน บ้านหลังนี้มีกำแพงรอบบริเวณบ้าน มีสวนอยู่หลังบ้าน พื้นบ้านสร้างยกสูงจากถนน ผนังบ้านมีความหนามาก กลางบ้านเปิดหลังคาโล่งทำให้อากาศถ่ายเทได้ดี ภายในบ้านมีประตูกลสำหรับกันขโมย เมื่อปิดแล้วจะเปิดไม่ได้หากไม่รู้วิธีเปิด หลังคาเป็นหลังคาจั่ว...
ผลิตภัณฑ์ผ้าจวนตานี หรือผ้าลีมา หรือผ้ายกตานี หรือผ้าล่องจวน เป็นผ้าพื้นเมืองดั้งเดิมของปัตตานี มี แหล่งผลิต คือ ชุมชนทรายขาว อ.โคกโพธิ์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทอด้วยเส้นใยไหม ส่วนชุมชนบ้านตรัง อ.มายอ ทอด้วยเส้นใยฝ้าย ต่อมามีโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าท้องถิ่น พัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนจึงพัฒนาต่อยอดทอผ้าจวนตานี ด้วยเส้นใยฝ้าย...
ชื่ออาหารภาษามลายู กอเละลอเมาะ เป็นขนมที่มีกระบวนการทำหลายขั้นตอน นิยมรับประทานเป็นตอนเที่ยง หรือตอนเย็นๆ หรือรับประทานเดือนบวช ช่วงฝนตก อากาศเย็น กินได้ทุกวัย วัยผู้ใหญ่ 40 ปีขึ้น… อ่านต่อที่นี่ https://pattaniheritagecity.psu.ac.th/food/%e0%b8%82%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%b0-%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%8b%e0%b8%b2/
ซาโยโกโล๊ะ หรือ ซาโยผักพื้นบ้าน (ซาโย = ต้มกระทิ) เป็นอาหารยอดนิยมของคนเฒ่าคนแก่ที่ทำกินต่อ ๆ กันมายาวนาน ว่ากันว่าซาโยจะอร่อยหรือไม่นั้นจะต้องใส่พืชผักพื้นบ้านหลายอย่าง ได้แก่ แตงกวา กะหล่ำปลี ดอกกะล่ำ มะเขือม่วง มะเขือยาว ผักขม...
ข้าวยำ เป็นอาหารหลักในท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมปัตตานีนิยมรับประทานในมื้อเช้า และมื้อเย็น เป็นอาหารที่ทำรับประทานง่าย หรือหาซื้อง่ายมีขายเกือบทุกชุมชน เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ปรุงมีอยู่ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นผักสดจากริมรั้ว ปลาที่หาได้ในท้องทะเลรอบอ่าวปัตตานี พร้อมกับภูมิปัญญาในการถนอมอาหารแปรรูปจากปลาสดกลายเป็นบูดูที่มีรสชาติ อร่อย กลมกล่อม ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการปรุงข้าวยำ แม้ข้าวยำเป็นอาหารพื้นบ้านที่ดูเรียบง่าย ราคาถูกในชุมชนห่อละ 10 บาท แต่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ...