May 17, 2024

Day: October 19, 2022

ซ้าป้อม ซ้าป้อม ภาชนะใส่ของทาด้วยรักสีดำ ตัวซ้าเป็นทำจากไม้ไผ่สานเป็นซ้า คล้ายกระบุงเล็ก ๆ ขนาดความกว้างประมาณ 6 – 9 นิ้ว ทางผิวภายนอกด้วยรักหนา ภายในทารักบางมองเห็นลายสานตอก อ่านต่อคลิก Basket (Sa pom)...
ปุง ปุง เขียนลายด้วยชาดแดงสลับกับรักดำ เป็นภาชนะใส่เมล็ดพืช มีลักษณะคล้ายกล่องข้าวเหนียว ฐานรองสี่เหลี่ยมทำจากไม้จริง ตัวปุงเป็นไม้ไผ่สาน ปากปุงสอบเข้า ปากปุงกลมขอบตั้งทำฝาครอบทรงกลมแบน ตัวปุงเคลือบด้วยยางรักสีดำ เขียนเป็นรูปใบสะหลี๋ หรือใบโพธิ์ สลับดำ – แดง แทรกลายใบโพธิ์ตรงกลางช้อนเข้าไว้อีกชั้นหนึ่งทำเป็นลายกนกหัวกลับอยู่ภายในตัวลาย มีหวายทำเป็นสายรัดระหว่างบ่าของปุงกับฐานไม้สี่เหลี่ยมและบริเวณบ่าทำเป็นหูห้อยร้อยเชือก...
ปุง (ปุงฝาส้มชาด) ปุง เขียนลายด้วยชาดแดง เป็นภาชนะใส่เมล็ดพืช ลักษณะคล้ายกล่องข้าวเหนียว ฐานรองสี่เหลี่ยมทำจากไม้จริง ตัวปุงเป็นไม้ไผ่สาน ปากปุงสอบเข้า ปากปุงกลมขอบตั้งทำฝาครอบทรงกลมแบนชาดส้ม (ฝาด้านบนชำรุด) ตัวปุงเคลือบด้วยยางรักสีดำ มีหวายทำเป็นสายรัดระหว่างบ่าของปุงกับฐานไม้สี่เหลี่ยมและบริเวณบ่าทำเป็นหูห้อยสายยาว ส่วนฐานไม้สีเหลี่ยมทาด้วยชาด สีแดงส้ม อ่านต่อคลิก Basket (Pung)...
ในปี พ.ศ. ๒๔๑๙ ช่วงต้นสมัยรัชกาลที่ ๕ เจ้าอธิการพุฒ (ปุณณกเถร) เจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย ได้ร่วมกับพระยา วิชิตชลเขตร (ทด สมุทรานนท์) จางวางกำกับเมืองชลบุรีและชาวบ้านย่านวัดเขาบางทราย ได้พัฒนาวัดด้านล่างเชิงเขา พระพุทธบาทและ ได้จัดทำแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้สำหรับอุปโภคบริโภค จึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันขุดสระกักเก็บน้ำขนาดใหญ่...
มณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้ทรงจตุรมุขลดชั้น ๒ ชั้น มุงกระเบื้องดินเผา โดยรอบมีพาไลลดชั้นคลุม เครื่องลำยองช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ ไม้ลงรักปิดทองประดับกระจก หน้าบันไม้แกะสลักประดับกระจกรูปเทพพนม มีเสาคอนกรีตตั้งรับโครงหลังคาพาไลเป็นระยะ ระหว่างโคนเสาก่อเป็นพนักระเบียงมีลูกกรง เว้นบันไดทางขึ้นตรงกึ่งกลางด้านทุกด้าน ตัวอาคารพระมณฑปมีฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ผนังก่ออิฐถือปูนมีประตูเข้า-ออก ด้านละ ๑...
เป็นอุโบสถขนาด ๕ ห้อง มีรูปแบบศิลปกรรมในรัชกาลที่ ๓ คือการทำเสาทึบต้นทรงสี่เหลี่ยมไม่มีบัวหัวเสา และหน้าบันมีการทำปูนปั้นประดับเครื่องถ้วยจีน ซุ้มหน้าต่างและประตูประดับปูนปั้นลายพันธุ์พฤกษา ส่วนหลังคาไม่มีการทำเครื่องลำยอง และใบเสมาขนาดเล็ก ข้อมูลจาก: ศูนย์ศึกษาศิลปกรรมโบราณในเอเชียอาคเนย์
มณฑปพระพุทธบาท ตั้งอยู่บนเนินเขา ห่างจากวัดบางพระวรวิหาร ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา ไม่ไกลนัก สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด และได้รับการบูรณาปฏิสังขรณอุโบสถในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินมาสักการะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ดังปรากฏในศิลาของชาวจีนในสมัยนั้น ซึ่งมีทั้งอักษรไทยโบราณและอักษรจีน ปัจจุบันได้ก่อถือปูนสร้างครอบหลังใหม่รอยพระพุทธบาทวัดบางพระวรวิหารวัดบางพระวรวิหาร...
หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญของวัดบางเป้ง คือ พระอุโบสถ (หลังเก่า) ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอาคารอิฐถือปูน ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา ลดชั้น ๒ ชั้น ด้านสกัดหน้า-หลังชักปีกนกยื่นออกมาบรรจบกับตับหลังคาด้านข้างคลุมโดยรอบอาคาร มีเสาซีเมนต์ตั้งรับชายคาเป็นระยะ ระหว่างเสาด้านล่างมีพนักลูกกรงก่ออิฐถือปูน เครื่องลำยองเป็นกรอบจั่วอย่างไทยช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์ไม้ หน้าบันเป็นแบบชนิดไม่มีหน้าบันชั้นลด ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นประดับเครื่องถ้วยจีน...
เนินพระธาตุ ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ นอกเมืองพระรถ เมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดีที่มีกำแพงเมือง คูเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุนมนล้อมรอบ จากการขุดแต่งทางโบราณคดีบริเวณเนินพระธาตุ ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ พบว่าเป็นโบราณสถานที่มีการก่อสร้างทับซ้อนกัน ๒ สมัย
หอยทอดโบราณ สูตรแป้งนิ่ม ของชุมชนตำบลวัดหลวง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี มีหอยแมลงภู่ผสมกับแป้ง เครื่องปรุงรส ทอดในกระทะที่ร้อนจัด ใส่ไข่ โดยแป้งที่ใช้เป็นแป้งใส พร้อมถั่วงอก