May 2, 2024

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บุญกฐิน หรือบุญเดือนสิบสอง หนึ่งในฮีตฮอยท้องถิ่นอีสานเดือนสุดท้ายของปีทางจันทรคติ จัดเป็นสังฆกรรมประเภทกาลทานหรือการทานตามกาลสมัยตามพระวินัยบัญญัติเถรวาท มีกำหนดเวลาในการทำบุญกฐินเพียงแค่ 1 เดือนเท่านั้น คือ ระหว่างวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12...
ต้นหมาน้อย หรือเครือหมาน้อย ชาวอีสานนำมาปรุงเป็น “ลาบหมาน้อย” อาหารพื้นบ้านดั้งเดิม เป็นผักสมุนไพรพื้นบ้านที่มีสรรพคุณทางยาที่หมอยาพื้นบ้านทั้งในประเทศไทย อเมริกาใต้และอเมริกาเหนือนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงและรักษาอาการต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน อ่านต่อ…
ลาบเทา อาหารพื้นบ้านอีสานที่เกิดจากภูมิปัญญาและวัฒนธรรมการกินที่มีมานาน โดยการนำเทาหรือสไปโรไจรา ปลาป่น และพืชผักสมุนไพรต่าง ๆ มาเป็นวัตถุดิบปรุงร่วมกันอย่างลงตัว มีวิธีการปรุงง่าย ๆ ตามอัตลักษณ์ที่เรียบง่ายของคนอีสาน แต่ได้รสชาติที่อร่อยไม่เหมือนใคร อ่านต่อ…
อุโบสถวัดสุภรัตนาราม หรือวัดบ้านหวาง อำเภอวารินชำราบ เป็นหนึ่งในรูปแบบอุโบสถของวัดในสังกัดธรรมยุติกนิกาย ที่ได้รับอิทธิพลต้นแบบมาจากอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร สันนิษฐานว่าเป็นผลงานการสร้างของช่างพื้นถิ่นและชาวญวนที่ถนัดงานปูนปั้น สร้างขึ้นในยุคที่ 2 ของการขยายตัวของพุทธศาสนาธรรมยุตินิกายในอุบลราชธานีและภาคอีสาน หรือราวสมัยรัชกาลที่ 6-8 (พ.ศ.2453–2480) โดยขณะนั้นมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) เป็นผู้นําพระธรรมยุติกนิกายในอีสาน อ่านต่อ…
วัดสุทัศนาราม หนึ่งในวัดสังกัดธรรมยุตินิกายของจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีอุโบสถที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของวัดธรรมยุติ ซึ่งมีต้นแบบมาจากอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร และเป็นสถานที่บรรจุอัฐิของหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา ผู้มีอุปการะคุณมอบพื้นที่ส่วนตัวให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี อ่านต่อ…
เสี่ยว คือ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย กุศโลบายที่ทำให้คนอีสานมีความรักใคร่กลมเกลียวกัน เป็นเพื่อนที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันเมื่อคราวตกยากหรือเมื่อมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้น เป็นความผูกพันกันตั้งแต่รุ่นพ่อแม่จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน หลักของความเป็นเสี่ยวทำให้เกิดความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความสามัคคี และความเชื่อถือจริงใจต่อกันในสังคม  อ่านต่อ…
ประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นงานบุญประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของอุบลราชธานีมาอย่างยาวนาน จังหวัดอุบลราชธานีและหลายภาคส่วนได้ร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทำเทียนพรรษาตลอดทั้งเดือนก่อนจะถึงวันเข้าพรรษา อาทิ การเยือนชุมชนทำเทียนพรรษา การแสดงและการแห่เทียนพรรษา โดยมีพัฒนาและสร้างสรรค์งานอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เพื่ออนุรักษ์งานประเพณีอันดีงามนี้ไว้ เพื่อสร้างบุญกุศล สืบสานศิลปวัฒนธรรม และสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดอุบลราชธานี เรียนรู้เรื่องราวและองค์ความรู้จากประเพณีแห่เทียนพรรษาในแง่มุมต่าง ๆ ได้ที่ http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/esaninfo/?tag=ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ผลงานการวิจัยของอาจารย์ลลิดา บุญมี ที่ได้สืบประวัติของวัดเก่าอายุกว่า 120 ปี ในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า มูลเหตุของการสร้างวัดนั้นมาจากการตั้งถิ่นฐานและการพัฒนาเมืองอุบลราชธานีของเจ้านายพื้นเมือง การเผยแพร่และทำนุบำรุงพุทธศาสนาให้เป็นที่ยึดหนี่ยวจิตใจของชุมชน เช่น วัดหลวง วัดกลาง วัดมหาวนาราม วัดมณีวนาราม วัดทุ่งศรีเมือง อ่านต่อ….
ข้าวหอมมะลิอุบลราชธานี ถูกขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ด้วยสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของจังหวัดอุบลราชธานีทำให้ข้าวหอมมะลิอุบลราชธานีที่ปลูกในจังหวัดอุบลราชธานีมีรสชาติและมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างไปจากข้าวหอมมะลิที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดอื่น ข้าวหอมมะลิอุบลราชธานีมีคุณภาพและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภค เป็นที่ต้องการของโรงสีและพ่อค้าข้าวทั้งตลาดภายในและภายนอกประเทศ เช่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน...
พุทธศาสนาฝ่ายธรรมยุติกนิกายเผยแผ่เข้ามาสู่อีสานครั้งแรกที่จังหวัดอุบลราชธานี ณ​ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร นอกจากการนำแนวปฏิบัติมาสู่คณะสงฆ์แล้ว งานสถาปัตยกรรมก็มีสัญลักษณ์ที่บ่งชี้ว่าเป็นวัดในสังกัดธรรมยุติกนิกายอย่างมีเอกลักษณ์ นั่นคือ หน้าบันของอุโบสถแบบไม่มีไขาราหน้าจั่วประดับเครื่องลำยองนาค การตกแต่งปูนปั้นลายพฤกษา และเจดีย์กลม อุโบสถของวัดสุปัฏนารามวรวิหารก็เป็นต้นแบบของอุโบสถวัดธรรมยุติกนิกายหลาย ๆ วัดในอุบลราชธานี อ่านต่อ…