May 19, 2024

Blog

สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนได้ตระหนักและเล็งเห็นคุณค่าและความสำคัญของข้อมูลท้องถิ่น จึงได้ออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเก็บรวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นภาคใต้ ทั้งนี้เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับภาคใต้ในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้คนในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะเยาวชนได้ตระหนักและเห็นคุณค่า ตลอดถึงภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพชน ซึ่งผู้พัฒนาได้รวบรวม เรียบเรียง วิเคราะห์...
ฐานข้อมูลเหตุการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Southern Border Area News Summarises) เป็นฐานข้อมูลที่วิเคราะห์เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากสำนักพิมพ์ออนไลน์ต่างๆ ในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 จนถึงปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใช้อธิบายปรากฎการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อศึกษาแนวโน้มและเฝ้าระวังสถานการณ์ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อสร้างองค์ความรู้ต่อยอดในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป คลิกเพื่อเข้าใช้ระบบ
รวบรวมงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักศาสนาอิสลาม ประชากรมุสลิม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ กฎหมาย การศึกษา ที่จัดทำขึ้นโดยบัญฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เข้าใช้งานได้ที่ https://www.oas.psu.ac.th/thesis/
ฐานข้อมูลจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศทางด้านประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในหัวแง่มุมต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของเอกสาร ภาพถ่าย เสียงและมัลติมีเดีย ที่ให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้โดยผ่านระบบเครือข่าย เพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษาสะท้อนถึงที่มาและ คุณค่า วัฒนธรรมองค์กร อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้คนต่างวัฒนธรรม เข้าใช้งานได้ที่ https://psuarchive.oas.psu.ac.th/
ฐานข้อมูลวิจัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ (Southernmosy Provinces Research Database)พัฒนาขึ้นตามข้อเสนอแนะของโครงการวิจัยเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์เพื่อสันติสุขของชาติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติฐานข้อมูลวิจัยนี้จะเป็นช่องทางการนำเสนอข้อมูลจากการวิจัยเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ทั้งในด้านการเมืองการปกครองศิลปะ และวัฒนธรรม วิถีชีวิตและประเพณีประวัติศาสตร์ ภูมิทัศน์ และการท่องเที่ยว ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมการศึกษา สุขภาพอนามัย ศาสนา...
โครงการวิจัยภายใต้ชุดโครงการ มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี “ม.อ.ปัตตานีกับการขับเคลื่อนศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา: วงแหวนพหุวัฒนธรรมเมืองปัตตานี” เข้าใช้งานได้ที่ https://pattaniheritagecity.psu.ac.th/