April 29, 2024
นามแฝง: นางฟ้า ชาลี
ที่อยู่: ๑๓๑ / ๑๐๕ โรงพยาบาลสวนปรุง ถ.ช่างหล่อ ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๐๐

เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๓ เป็นบุตรของนายจำรัส เหมืองจา และนางจันทร์เพ็ญ พรหมเมศร์ นามปากกา “นางฟ้า ชาลี” มาตุภูมิ บ้านหนองใหม่ ตำบลป่าแมต อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ที่อยู่ปัจจุบัน ๑๓๑ / ๑๐๕ โรงพยาบาลสวนปรุง ถ.ช่างหล่อ ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๐๐ โทรศัพท์ ๐๘๙ ๖๓๖๗๐๕๒

      • ประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดหนองใหม่ (ทองดีอุทิศ)
      • มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนนารีรัตน์ จังหวัดแพร่
      • มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนารีรัตน์ จังหวัดแพร่
      • ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ บธบ. (บริหารทรัพยากรมนุษย์)
      • รับราชการโรงพยาบาลสวนปรุงเชียงใหม่ ถ.ช่างหล่อ ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
      • ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมวรรณกรรมล้านนาเชียงใหม่
      • เป็นวิทยากรค่าวฮ่ำให้กับประชาชนผู้สนใจ เทศบาล และโรงเรียนต่างๆ
      • เป็นผู้ประสานงาน รวบรวมกวีล้านนาเขียนค่าวเรื่อง “ อาลัยในหลวง” โดยการติดต่อจากคุณ นันทนา อินหลี หัวหน้ากรมประชาสัมพันธ์ช่อง N.B.T. เพื่อเป็นตัวแทนกวีล้านนาภาคเหนือ
      • ประพันธ์ค่าวเรื่อง “ อาลัยในหลวง” โดยการติดต่อจากคุณ นันทนา อินหลี หัวหน้ากรม
        ประชาสัมพันธ์ช่อง N.B.T. เพื่อเพื่อเป็นตัวแทนกวีล้านนาภาคเหนือและรวบรวมไว้ยัง
        หอสมุดแห่งชาติ
      • เป็นผู้ประสานงานรวบรวมบรมครูค่าวฮ่ำล้านนา จำนวน ๔๓ ท่าน เพื่อจัดทำหนังสือ “ ค่าวฮ่ำน้ำใจ๋” รายได้สมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์แก่โรงพยาบาลสวนปรุง
      • เป็นที่ปรึกษาและเป็นผู้ประสานงาน รวบรวมครูภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทค่าว ในการจัดทำเว็บไซต์และฐานข้อมูลวรรณกรรมขับขานล้านนา ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
      • ผลงานกลอน ในหนังสือ “ คืนชีพกวี”
      • หนังสือ “ ค่าวฮ่ำต๋ำนาน เล่ม๑” โดยรวบรวมผลงานประวัติบุคคลสำคัญ วัฒนธรรมประเพณี สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของล้านนา โดยการประพันธ์แบบ ค่าว จำนวน ๒๒ เรื่อง
      • หนังสือ “ ค่าวฮ่ำต๋ำนาน เล่ม๒” โดยรวบรวมผลงานประวัติบุคคลสำคัญ วัฒนธรรมประเพณี สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของล้านนา โดยการประพันธ์แบบ ค่าว จำนวน ๑๑ เรื่อง
      • หนังสือ “ ค่าวฮ่ำน้ำใจ๋” โดยรวบรวมผลงานค่าว จากบรมครูจำนวน ๔๓ ท่าน / รูป จำนวน ๔๓ เรื่อง
      • เจ้าของเพจ “นางฟ้า ชาลี คนเขียนค่าว” โดยการเสนอผลงานค่าวเพื่อให้ประชาชนที่สนใจได้ศึกษา
      • แบบเรียนการเขียนค่าวเบื้องต้น เพื่อใช้สอนในศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมล้านนาเชียงใหม่และเทศบาลต่างๆที่เชิญเป็นวิทยากร
      • เจ้าของเพจ “ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมวรรณกรรมล้านนาเชียงใหม่” เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมและวรรณกรรมล้านนา
      • เขียนค่าวฮ่ำบนเฟสบุ๊คในเพจต่างๆ ได้แก่ โฮงเฮียนค่าวฮ่ำ ชมรมคนรักค่าว ค่าวคนบ้านนอก สืบสานล้านนาฮักษาค่าว จ๊อย ซอ ชมรมฮีตฮอยบ่เก่าเฮาคนเมือง ชมรมค่าวฮ่ำคำเครือ เป็นต้น
Rate this post

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *