May 19, 2024

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

งานข้อมูลท้องถิ่น สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีโอกาสได้จัดอบรมเทคนิคและวิธีการเล่นดนตรีพื้นเมืองอีสานขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนท้องถิ่นได้ศึกษาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิธีการเล่นดนตรีพื้นเมืองอีสานประเภทต่าง ๆ จากครูบาอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญและความชำนาญในการ สอน การเล่น และการตั้งวงดนตรีพื้นเมืองอีสานในโรงเรียน อีกทั้งเป็นการสนับสนุนและเชิดชูครูภูมิปัญญา ท้องถิ่นในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อสืบสานและสืบทอดศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่อไป โน้ตเพลงที่ใช้ในการอบรมถูกรวบรวมและเรียบเรียงโดยวิทยากร มีตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงการประยุกต์เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถนำไปเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง...
บุญผะเหวด บุญพระเวส หรือบุญมหาชาติ บุญประจำเดือนสี่ตามฮีตสิบสองที่ชาวอีสานยังสืบสานเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีของท้องถิ่น มีระเบียบวิธีปฏิบัติแบบดั้งเดิมแตกต่างไปจากปัจจุบันอย่างไร บุญผะเหวด มีความเกี่ยวข้องกับชาดกเรื่อง พระมหาเวสสันดร ชาดกที่แสดงบารมี 10 ประการของพระชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้าที่ได้ทรงเพียรบำเพ็ญเพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ในภาษาอีสานจะออกเสียง “พระเวส” เป็น “ผะเหวด” จึงเป็นชื่อเรียกบุญนี้ว่า “บุญผะเหวด”...
บุญกฐิน หรือบุญเดือนสิบสอง หนึ่งในฮีตฮอยท้องถิ่นอีสานเดือนสุดท้ายของปีทางจันทรคติ จัดเป็นสังฆกรรมประเภทกาลทานหรือการทานตามกาลสมัยตามพระวินัยบัญญัติเถรวาท มีกำหนดเวลาในการทำบุญกฐินเพียงแค่ 1 เดือนเท่านั้น คือ ระหว่างวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12...
ต้นหมาน้อย หรือเครือหมาน้อย ชาวอีสานนำมาปรุงเป็น “ลาบหมาน้อย” อาหารพื้นบ้านดั้งเดิม เป็นผักสมุนไพรพื้นบ้านที่มีสรรพคุณทางยาที่หมอยาพื้นบ้านทั้งในประเทศไทย อเมริกาใต้และอเมริกาเหนือนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงและรักษาอาการต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน อ่านต่อ…
ลาบเทา อาหารพื้นบ้านอีสานที่เกิดจากภูมิปัญญาและวัฒนธรรมการกินที่มีมานาน โดยการนำเทาหรือสไปโรไจรา ปลาป่น และพืชผักสมุนไพรต่าง ๆ มาเป็นวัตถุดิบปรุงร่วมกันอย่างลงตัว มีวิธีการปรุงง่าย ๆ ตามอัตลักษณ์ที่เรียบง่ายของคนอีสาน แต่ได้รสชาติที่อร่อยไม่เหมือนใคร อ่านต่อ…
อุโบสถวัดสุภรัตนาราม หรือวัดบ้านหวาง อำเภอวารินชำราบ เป็นหนึ่งในรูปแบบอุโบสถของวัดในสังกัดธรรมยุติกนิกาย ที่ได้รับอิทธิพลต้นแบบมาจากอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร สันนิษฐานว่าเป็นผลงานการสร้างของช่างพื้นถิ่นและชาวญวนที่ถนัดงานปูนปั้น สร้างขึ้นในยุคที่ 2 ของการขยายตัวของพุทธศาสนาธรรมยุตินิกายในอุบลราชธานีและภาคอีสาน หรือราวสมัยรัชกาลที่ 6-8 (พ.ศ.2453–2480) โดยขณะนั้นมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) เป็นผู้นําพระธรรมยุติกนิกายในอีสาน อ่านต่อ…
วัดสุทัศนาราม หนึ่งในวัดสังกัดธรรมยุตินิกายของจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีอุโบสถที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของวัดธรรมยุติ ซึ่งมีต้นแบบมาจากอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร และเป็นสถานที่บรรจุอัฐิของหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา ผู้มีอุปการะคุณมอบพื้นที่ส่วนตัวให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี อ่านต่อ…
ฮูปแต้ม เป็นคำพื้นเมืองในภาษาถิ่นวัฒนธรรมลาวชาวอีสานโบราณ ฮูปแต้ม หมายถึง รูป และคำว่า แต้ม หมายถึง การขีดเขียนหรือการระบายสีเพื่อให้เกิดลักษณะอย่างรูป รวมกันจึงหมายถึง ภาพเขียน หรือ รูปเขียน โดยต่อมาถูกนักวิชาการใช้เรียกในความหมายเดียวกันกับงานจิตรกรรมในวัฒนธรรมหลวง โดยช่างผู้สร้างงานเหล่านี้ภาษาพื้นเมืองอีสานเรียกว่า ช่างแต้ม หรือ ช่างเขียนรูป..อ่านต่อคลิก
จังหวัดมหาสารคามเป็นจังหวัดแรกที่มีผ้าลายประจำอำเภออย่างเป็นทางการ..ในปี พ.ศ.2558 สมาคมส่งเสริมผ้าไทยจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกันจัดประกวดผ้าลายมัดหมี่ของดีประจำอำเภอขึ้นทำให้เกิดการบัญญัติลายผ้าเพิ่มขึ้นอีก 13 ลาย 13 อำเภอ อ่านต่อคลิก
เสี่ยว คือ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย กุศโลบายที่ทำให้คนอีสานมีความรักใคร่กลมเกลียวกัน เป็นเพื่อนที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันเมื่อคราวตกยากหรือเมื่อมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้น เป็นความผูกพันกันตั้งแต่รุ่นพ่อแม่จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน หลักของความเป็นเสี่ยวทำให้เกิดความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความสามัคคี และความเชื่อถือจริงใจต่อกันในสังคม  อ่านต่อ…