April 23, 2024

          สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาในเชียงใหม่เป็นหน่วยงานกงสุลแห่งเดียวของสหรัฐฯ ที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร สถานกงสุลได้ถูกก่อตั้งขึ้นในเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2493 และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นสถานกงสุลใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2529 ซึ่งนอกจากจะมีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯประจำการอยู่แล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปราบปรามยาเสพติดและศูนย์ Technical Application Center ของกองทัพอากาศสหรัฐฯทำงานเกี่ยวเนื่องกับสถานกงสุลใหญ่อยู่ด้วย   ในจังหวัดเชียงรายก็จะมีสำนักงานย่อยของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ และยังมีอาสาสมัคร Peace Corps ประมาณ 12 คนที่ทำงานในโครงการต่างๆ ทั่วภาคเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่เกี่ยวกับการศึกษา

          ขอบเขตการบริการขอบเขตการดูแลของสถานกงสุลใหญ่ในเชียงใหม่ครอบคลุม 15 จังหวัด อันได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย กำแพงเพชร ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน น่าน เพชรบูรณ์ พะเยา พิจิตร พิษณุโลก แพร่ สุโขทัย ตาก และอุตรดิตถ์

          ชาวอเมริกันอื่นๆชาวอเมริกันที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือของไทยมีจำนวนหลายพันคน สถานกงสุลได้แนะนำให้พลเมืองสหรัฐฯ ที่พำนักในไทยตลอดจนผู้ที่มาเยือนประเทศไทยระยะยาวขึ้นทะเบียนไว้กับสถานกงสุลที่ https://step.state.gov/step/ ชุมชนของชาวอเมริกันในจังหวัดเชียงใหม่เริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2410 ซึ่งในช่วงนั้น นักสอนศาสนา แพทย์และครูชาวอเมริกันได้ริเริ่มก่อตั้งสถาบันการแพทย์และการศึกษาในภาคเหนือ ปัจจุบัน สถาบันเหล่านั้นคือ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค สถาบันแมคเคนเพื่อการฟื้นฟูสภาพ (เดิมคือนิคมโรคเรื้อน) โรงเรียนปรินส์รอแยลล์วิทยาลัย โรงเรียนดาราวิทยาลัย คณะแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยพายัพ

          นักการทูตอื่นๆในเชียงใหม่ยังมีสถานกงสุลอื่นๆอันได้แก่ สถานกงสุลใหญ่จีน สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น และสถานกงสุลอินเดีย และมีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ของประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี แคนาดา ออสเตรีย ฟินแลนด์ แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย เปรู บังคลาเทศ สวีเดน และอิตาลี ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์ของเบลเยียมพำนักอยู่ในจังหวัดลำปาง

          ภารกิจหลักนอกจากให้บริการแก่บุคคลสัญชาติอเมริกันและพิจารณาอนุมัติวีซ่าชั่วคราวแล้ว สถานกงสุลใหญ่ในเชียงใหม่ยังดำเนินงานอื่นๆเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและวัฒนธรรม ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม และความการให้ความร่วมมือในการปราบปรามการค้ามนุษย์ รัฐบาลสหรัฐฯ ให้การส่งเสริมโครงการต่างๆ ของรัฐบาลไทยอย่างต่อเนื่องในการยุติการปลูกฝิ่นและส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกฝิ่นหันไปปลูกพืชอื่นแทน นอกจากนี้ สถานกงสุลใหญ่ยังติดตามสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ซึ่งรวมถึงความเป็นอยู่ของบุคคลพลัดถิ่นจากพม่าจำนวนกว่า 150,000 คน และส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อาทิ การสนับสนุนให้ที่บริษัทสัญชาติสหรัฐฯ มีส่วนร่วมในภาคเศรษฐกิจบริเวณอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง อีกทั้งหน่วยทหารอากาศสหรัฐฯ ยังเฝ้าตรวจจับความสั่นสะเทือนใต้พิภพร่วมกับทางกองทัพเรือของไทยอีกด้วย

รายการอ้างอิง

สถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่. (ม.ป.ป.). สถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่. ค้นจาก http://https://th.usembassy.gov/th/embassy-consulate-th/chiang-mai-th/

Rate this post

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *